Page 101 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 101

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        91




                          จากผลการเปรียบเทียบการประเมินการสูญเสียดินทั้งในปี พ.ศ. 2545 และปี พ.ศ. 2563 ดังกล่าว
                   ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของเนื้อที่มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินของประเทศไทยมีแนวโน้ม

                   ที่ลดลง โดยเมื่อพิจารณาทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่สูงจะเห็นว่า ทั้ง 2 พื้นที่มีเนื้อที่ลดลงในระดับความรุนแรงของ
                   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) เช่นเดียวกับพื้นที่ที่มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน
                   น้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) ที่มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นทั้ง 2 พื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่สูงที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับ
                   ความรุนแรงของการสูญเสียดินได้อย่างเด่นชัด ทั้งนี้ ส าหรับในพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ
                   การเกษตรมีความรุนแรงของการสูญเสียดินระดับน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และระดับรุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี)
                   มีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้น ควรได้รับการพิจารณาเพื่อหาแนวป้องกันการชะล้างพังทลายของ
                   ดินที่เหมาะสมในพื้นที่ต่อไป





                                      จากการเปรียบเทียบผลระหว่างปี พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2563 (ตารางที่ 3.16) พบว่า ใน
                   พื้นที่ราบที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) มีแนวโน้มของเนื้อที่

                   เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 4.13 และ0.48 ล้านไร่ ตามล าดับ  ในขณะที่พื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดิน
                   ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก มีเนื้อที่ลดลงจากปี 2545 ประมาณ 4.01 0.07 และ 0.53 ล้านไร่ ตามล าดับ
                   ส่วนในพื้นที่สูงที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีเนื้อที่
                   เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 18.42 และ0.75 ล้านไร่ ตามล าดับ  ในขณะที่พื้นที่ที่มีการสูญเสีย
                   ดินระดับอื่นมีแนวโน้มลดลง  จะเห็นว่า การสูญเสียดินของพื้นที่ภาคเหนือมีแนวโน้มลดลงในพื้นที่สูง  แต่มี
                   แนวโน้มเพิ่มขึ้นในพื้นที่ราบที่มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน 0-15 ตันต่อไร่ต่อปี

                   ตารางที่ 3.16 เปรียบเทียบเนื้อที่ของการสูญเสียดินของภาคเหนือระหว่างปี พ.ศ. 2545 และปี พ.ศ. 2563


                    ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน                             เนื้อที่ (ไร่)
                                                               ปี พ.ศ. 2545    ปี พ.ศ. 2563     ผลต่าง
                    พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ราบเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                    ชั้นที่ 1    การสูญเสียดินน้อย                32,985,595     37,118,679    +4,133,084
                    ชั้นที่ 2   การสูญเสียดินปานกลาง               9,855,230      5,842,347     -4,012,883
                    ชั้นที่ 3   การสูญเสียดินรุนแรง                2,556,840      3,033,372      +476,532
                    ชั้นที่ 4   การสูญเสียดินรุนแรงมาก              284,493         213,686       -70,807
                    ชั้นที่ 5   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด       1,439,441        913,515      -525,926
                                      รวม                         47,121,599     47,121,599       -
                    พื้นที่สูง  (ภูเขา และที่ราบหุบเขา ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                    ชั้นที่ 1H    การสูญเสียดินน้อย               20,246,231     38,664,582   +18,418,351
                    ชั้นที่ 2H   การสูญเสียดินปานกลาง             20,442,262     11,754,918     -8,687,344
                    ชั้นที่ 3H   การสูญเสียดินรุนแรง               9,746,758      2,755,980     -6,990,778
                    ชั้นที่ 4H   การสูญเสียดินรุนแรงมาก            1,241,021      1,316,355       +75,334
                    ชั้นที่ 5H   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด      7,229,809      4,414,246     -2,815,563
                                      รวม                         58,906,081     58,906,081       -
                                   รวมทั้งภาค                    106,027,680    106,027,680       -
                   เนื้อที่ได้จากการค านวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106