Page 102 - สถานภาพการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย Status of Soil Erosion in Thailand
P. 102

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                     92





                                จากการเปรียบเทียบผลระหว่างปี พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2563 (ตารางที่ 3.17) พบว่า ใน
               พื้นที่ราบที่มีระดับการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) รุนแรง (5-15 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมากที่สุด

               (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) มีแนวโน้มเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 0.69 2.32 และ 0.08 ตามล าดับ ในขณะ
               ที่พื้นที่ที่มีระดับการสูญเสียดินปานกลาง (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) และรุนแรงมาก (15-20 ตันต่อไร่ต่อปี)
               มีเนื้อที่ลดลง 3.07 และ 0.04 ล้านไร่ ตามล าดับ  ส าหรับในพื้นที่สูงที่มีระดับการสูญเสียดินปานกลาง รุนแรงมาก
               และรุนแรงมากที่สุด ในปี พ.ศ. 2563 มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นมากจากปี พ.ศ. 2545 ถึง 0.29 0.19 และ 0.49 ล้านไร่
               ตามล าดับ  ในขณะที่พื้นที่ที่มีการสูญเสียดินน้อย และรุนแรง มีเนื้อที่ลดลง จะเห็นว่า ระดับการสูญเสียดินของ
               ภาคนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่สูง ส าหรับจังหวัดที่มีการเพิ่มขึ้นของเนื้อที่ที่มีระดับการสูญเสีย
               ดินรุนแรงมากที่สุด (>20 ตันต่อไร่ต่อปี) คือ จังหวัดเลย และส าหรับพื้นที่ราบมีการเพิ่มขึ้นของเนื้อที่ที่มีระดับ
               การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด คือ จังหวัดอุบลราชธานี

               ตารางที่ 3.17 เปรียบเทียบเนื้อที่ของการสูญเสียดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างปี พ.ศ. 2545 และ
                             ปี พ.ศ. 2563

                ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน                             เนื้อที่ (ไร่)
                                                           ปี พ.ศ. 2545    ปี พ.ศ. 2563     ผลต่าง
                พื้นที่ราบ (ที่ราบล าน้ า ที่ราบเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                   ชั้นที่ 1   การสูญเสียดินน้อย              77,414,710      78,110,594     +695,884
                   ชั้นที่ 2   การสูญเสียดินปานกลาง           13,339,381      10,272,670    -3,066,711
                   ชั้นที่ 3   การสูญเสียดินรุนแรง             2,323,995       4,648,269    +2,324,274
                   ชั้นที่ 4   การสูญเสียดินรุนแรงมาก            124,544         88,848        -35,696
                   ชั้นที่ 5   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด      280,797        363,046       +82,249
                                  รวม                         93,483,427      93,483,427       -
                พื้นที่สูง  (ภูเขา และที่ราบหุบเขา ลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์)
                  ชั้นที่ 1H   การสูญเสียดินน้อย               8,591,025       8,009,938      -581,087
                  ชั้นที่ 2H   การสูญเสียดินปานกลาง            1,530,559       1,823,600     +293,041
                  ชั้นที่ 3H   การสูญเสียดินรุนแรง             1,377,406        992,378       -385,028
                  ชั้นที่ 4H   การสูญเสียดินรุนแรงมาก             72,812        260,759      +187,947
                  ชั้นที่ 5H   การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด      478,732        963,859      +485,127
                                  รวม                         12,050,534      12,050,534       -
                                รวมทั้งภาค                   105,533,961     105,533,961       -

               เนื้อที่ได้จากการค านวณด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์


                               จากการเปรียบเทียบผลระหว่างปี พ.ศ. 2545 และพ.ศ. 2563 (ตารางที่ 3.18) พบว่า ในพื้นที่
               ราบที่ระดับความรุนแรงอื่นมีแนวโน้มของเนื้อที่ลดลงในปี พ.ศ. 2563 ยกเว้น ที่ระดับความรุนแรงน้อย (0-2
               ตันต่อไร่ต่อปี) ที่มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1.10 ล้านไร่  ส าหรับในพื้นที่สูงการสูญเสียดินมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี
               มีแนวโน้มลดลง แต่มีแนวโน้มของเนื้อที่เพิ่มขึ้นที่ระดับความรุนแรงการสูญเสียดินน้อย (0-2 ตันต่อไร่ต่อปี) และ
               ปานกลาง (2-5 ตันต่อไร่ต่อปี) โดยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 ประมาณ 0.33 และ 0.15 ล้านไร่ ตามล าดับ แสดง
               ให้เห็นว่า การสูญเสียดินในพื้นที่ภาคกลางทั้งในพื้นที่ราบ และพื้นที่สูงมีแนวโน้มลดลง
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107