Page 7 - กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 7

5
                      5. การจัดการทรัพยากรดินจะมีความยั่งยืน หากส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนิเวศ บริก าร

               ในด้านต่างๆ จากทรัพยากรดิน ทั้งด้านการสนับสนุน ด้านการเป็นแหล่งผลิต ด้านการควบคุม และด้านวัฒนธรรม
               ซึ่งทรัพยากรดินควรได้รับการบำรุงรักษาหรือปรับปรุงโดยไม่ทำให้หน้าที่ของดินที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

               หรือความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมโทรมลง ทั้งนี้ความสมดุลระหว่างการสนับสนุนและการเป็นแหล่งผลิตพืช

               รวมถึงการควบคุมคุณภาพหรือความเป็นประโยชน์ของน้ำ และองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจก
               ในชั้นบรรยากาศ กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน


                      6. โดยทั่วไปแล้ว การตัดสินใจด้านการจัดการทรัพยากรดินมักเกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นและในบริบท

               ทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวาง การพัฒนามาตรการเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับ
               การนำไปประยุกต์ใช้โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในท้องถิ่น  โดยมักจะต้องใช้ความคิดริเริ่มหลากหลายระดับ

               และสหสาขาวิชาจากผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก สิ่งสำคัญคือจะต้องนำเอาความรู้ในท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย

                      7. หน้าที่ของดินจะถูกควบคุมโดยสมบัติทางเคมี  ชีวภาพ และทางกายภาพของดินนั้นๆ

               ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความยั่งยืน จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสถานะ

               ที่แท้จริงของดินเหล่านั้น  บทบาทของสมบัติดินต่อหน้าที่ของดิน และการเปลี่ยนแปลงของดิน

               จากผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์

                      8. ดินเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งประกอบ

               ไปด้วยจุลินทรีย์ไปจนถึงพืชและสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพนี้มีบทบาทพื้นฐานในการสนับสนุน
               การทำงานของดินและนิเวศบริการที่เกี่ยวข้องกับดิน  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

               ของดินเพื่อปกป้องหน้าที่ของดินเหล่านั้น

                      9. ไม่ว่าจะมีการจัดการทรัพยากรดินอย่างจริงจังหรือไม่ ดินก็ย่อมเป็นแหล่งนิเวศบริการที่สำคัญ

               ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสภาพภูมิอากาศโลกและการควบคุมน้ำในหลายระดับ ทั้งนี้การแปลง

               การใช้ที่ดินสามารถลดการบริการที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ของดิน นอกจากนี้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
               ที่ดินในระดับท้องถิ่นหรือระดับภูมิภาคสามารถประเมินได้แม่นยำเฉพาะในบริบทของนิเวศบริการจากดินเท่านั้น


                      10. ความเสื่อมโทรมของดินจะลดหรือจำกัดหน้าที่และความสามารถของดินในการส่งเสริม
               การบริการของระบบนิเวศที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ การลดความเสื่อมโทรมของดินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

               ในการบำรุงรักษาบริการต่างๆ ของดิน ซึ่งมีความคุ้มค่าและควรดำเนินการมากกว่าการฟื้นฟูดินหลังจากการเสื่อมโทรม


                      11. ดินที่มีปัญหาความเสื่อมโทรมอาจกลับมามีส่วนช่วยในการบริการของระบบนิเวศ
               หากมีการใช้เทคนิคการฟื้นฟูสมรรถภาพดินที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่การให้บริการของระบบนิเวศ

               โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11