Page 4 - กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 4

2
                      กฎบัตรดินโลก (World Soil Charter: WSC) ได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง

               ภายใต้การดำเนินงานของสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลกและคณะกรรมการวิชาการด้านดิน
               (Intergovernmental Technical Panel on Soils: ITPS) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ด้านดิน

               ภายใต้การกำกับของสมัชชาฯ โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา หลังจากการรับรองกฎบัตรดินโลกฉบับแรก

               ในการประชุมขององค์การอาหารและเกษตรฯ  ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2524 โลกได้มีการพัฒนา
               อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ปรับปรุง แก้ไข วิสัยทัศน์และคำแนะนำที่ได้ระบุ

               ไว้ในกฎบัตรดินโลกฉบับดั้งเดิมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความเสื่อมโทรมของดิน

               ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เช่น มลพิษทางดินและผลกระทบต่อสิ่งแ วดล้อม

               การปรับตัวและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  รวมถึงผลกระทบของการขยายชุมชนเมือง
               ต่อความเป็นประโยชน์และหน้าที่ของดิน เป็นต้น


                      กระบวนการปรับปรุงกฎบัตรดินโลกได้ผ่านการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง และผ่านการรับรอง
               อย่างเป็นเอกฉันท์ในการประชุมขององค์การอาหารและเกษตรฯ ครั้งที่ 39 เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2558

               ซึ่งถูกจัดให้เป็นปีดินสากล โดยกฎบัตรฯ ฉบับนี้ ประกอบด้วยหลักการที่สำคัญและแนวทางทั่วไป

               หลากหลายประการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ในการจัดทำแผนนโยบาย
               และแผนการดำเนินงานให้เกิดการจัดการดินอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคทั่วโลก


                      การรับรองกฎบัตรดินโลกฉบับปรับปรุงนี้มิใด้เป็นการสิ้นสุดของการดำเนินงาน  แต่จะช่วย

               เป็นแรงผลักดันของการเสริมสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับดินมากขึ้น โดยสนับสนุนการกระทำ
               ที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรดินในกรณีที่ดิน

               เกิดการเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงหรืออยู่ภายใต้ภัยคุกคามต่างๆ

                      ทั้งนี้ในอนาคตจำเป็นจะต้องเสริมหลักการที่สร้างแรงบันดาลใจและแนวทางในการดำเนินงาน

               การจัดการดินในกฏบัตรฉบับใหม่ ซึ่งจะรวมแนวทางเชิงเทคนิคที่จะใช้ในระดับภาคสนามในบริบทที่แตกต่างกัน

               โดยกระบวนการดำเนินงานกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์กรที่เหมาะสมภายใต้การกำกับ
               ของสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ


                      ข้าพเจ้าขอยกย่องการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดกฎบัตรดินโลกฉบับปรับปรุงนี้ และมีความภาคภูมิใจ
               ที่จะนำเสนอกฏบัตรฉบับนี้ เพื่อดึงดูดความสนใจและก่อให้เกิดการใช้งานจริงของผู้มีอำนาจตัดสินใจ

               และผู้ปฏิบัติงานด้านดินในทุกประเทศและทุกภูมิภาคทั่วโลก


                                                                         JOSE GRAZIANO DA SILVA


                                                                              Director-General
   1   2   3   4   5   6   7   8   9