Page 9 - กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 9
7
แนวทางการดำเนินการโดยรัฐบาล
1. ส่งเสริมการจัดการดินอย่างยั่งยืน ให้สอดคล้องกับสมรรถนะดินในปัจจุบันและความต้องการ
ของประเทศ
2. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเชิงสังคมและสถาบันที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการดิน
อย่างยั่งยืน โดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ รวมถึงควรแสวงหาทิศทางและวิธีการที่เหม าะสม
เพื่อเอาชนะอุปสรรคในการยอมรับการจัดการดินอย่างยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวพันกับการถือครองที่ดิน สิทธิของผู้ใช้ที่ดิน
การเข้าถึงบริการทางการเงินและการศึกษา มีการอ้างอิงถึงแนวปฏิบัติตามความสมัครใจในการกำกับดูแล
ที่มีความรับผิดชอบต่อการถือครองที่ดิน ป่าไม้ และการประมง (Voluntary Guidelines on the Responsible
Governance of Tenure of Land, Forests and Fisheries) ในบริบทของความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ
ซึ่งรับรองโดยคณะกรรมการความมั่นคงด้านอาหารโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555
3. มีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวคิดริเริ่มที่มีความหลากหลาย การศึกษาแบบสหวิทยาการ
และการเสริมสร้างศักยภาพที่ส่งเสริมให้เกิดการยอมรับการจัดการดินอย่างยั่งยืนโดยผู้ใช้ที่ดิน
4. สนับสนุนการวิจัยเพื่อค้นหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการพัฒนาและการดำเนินการ
จัดการดินอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ปลายทาง (end-users)
5. ผนวกหลักการและวิธีปฏิบัติในการจัดการดินอย่างยั่งยืนเข้ากับนโยบายและกฎหมาย
ในทุกระดับของรัฐบาล ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนานโยบายด้านดินแห่งชาติ
6. พิจารณาบทบาทของการจัดการดินให้ชัดเจนในการวางแผนเพื่อปรับตัวและบรรเทา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
7. กำหนดและใช้งานกฎระเบียบในการลดการสะสมของสารปนเปื้อนไม่ให้เกินระดับที่กำหนด
เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อน
ในดินที่เกินระดับมาตรฐานเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อมนุษย์ พืช และสัตว์
8. พัฒนาและบำรุงรักษาระบบสารสนเทศด้านดินแห่งชาติ และสนับสนุนการพัฒนา
ระบบสารสนเทศด้านดินทั่วโลก
9. พัฒนากรอบความร่วมมือ และสถาบันแห่งชาติเพื่อติดตามการดำเนินการจัดการดินอย่างยั่งยืน
และสถานภาพทรัพยากรดินโดยรวม