Page 3 - กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 3

1

               คำนำ





                      “ดินดี” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

               และสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตอาหารของมนุษย์และสัตว์  มวลชีวภาพ เส้นใย  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

               รวมถึงเป็นแหล่งให้บริการของระบบนิเวศ  (ecosystem services) ที่หลากหลายในทุกภูมิภาคทั่วโลก
               ปัจจุบัน มนุษยชาติกำลังเผชิญกับปัญหาด้านทรัพยากรดิน โดยเฉพาะการเสื่อมโทรมของดินในด้านต่างๆ

               รวมถึงการปิดทับหน้าดิน (soil sealing) ที่เป็นผลจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง

               ซึ่งกำลังคุกคามและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านอาหารและความสมดุลของระบบนิเวศเป็นอย่างมาก
               ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการดินอย่างยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

               อย่างแท้จริง

                      ในปัจจุบัน การตระหนักถึงความสำคัญในการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมและรักษาดินที่มีสุขภาพดี

               มีความเข้มข้นและจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค จนถึงระดับนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อตอบสนอง

               การใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงดูประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
               โดยในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองอย่างเป็นทางการให้มีการเฉลิมฉลองวันดินโลก

               (World Soil Day: WSD) ในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี และประกาศให้ปี พ.ศ. 2558 เป็น “ปีดินสากล”

               (the International Year of Soils: IYS) ซึ่งมติทั้งสองนี้จะช่วยให้การตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน

               ในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชนมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น

                      เนื่องจากการอนุรักษ์ทรัพยากรดินเป็นภารกิจสำคัญขององค์การอาหารและเกษต ร

               แห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) หน่วยงานภายใต้องค์การอาหารและเกษตรฯ
               ที่เกี่ยวข้องจึงได้พยายามแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของดินและระดมพละกำลังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

               ทั้งหมดด้วยวิธีการที่ทันสมัย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การก่อตั้งสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก (Global

               Soil Partnership: GSP) โดยสภามนตรีองค์การอาหารและเกษตร  ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2555
               ซึ่งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา กลุ่มสมัชชาฯ ได้ร่วมกันดำเนินงานตามความสมัครใจ เพื่อปฏิบัติภารกิจต่างๆ

               ในการปรับปรุง ดูแล ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรดิน ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้มีสุขภาพดีและ

               เกิดประสิทธิผลสำหรับการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
   1   2   3   4   5   6   7   8