Page 5 - กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) : แปลจากเอกสารเผยแพร่ เรื่อง "Revised World Soil Chartar" ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization (FAO) of the United Nations)
P. 5
3
กฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง)
การรับรองกฎบัตรดินโลก (ฉบับปรับปรุง) ในการประชุมของ FAO
ในการประชุมขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 39 ได้กล่าวถึงการรับรอง
กฎบัตรดินโลกฉบับแรก ในมติ 8/81 (การประชุมครั้งที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2524) ไว้ดังนี้ ;
ขอแสดงความชื่นชมต่อองค์กรภายใต้การกำกับของสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก
ได้แก่ กลุ่มสมัชชาใหญ่ และคณะกรรมการวิชาการด้านดิน ที่ประเมินความถูกต้องของกฎบัตร
อย่างต่อเนื่องและพัฒนาข้อความที่ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับปัญหาดินในปัจจุบันที่มีความท้าทาย
การตระหนักถึงภัยคุกคามที่มีต่อทรัพยากรดินทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นตัวทำลายแผนการดำเนินงาน
ให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตกลงกันไว้เพื่อขจัดความหิวโหยและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
รวมถึงการตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้ดินกลับมาดีดังเดิม
กฎบัตรดินโลกฉบับปรับปรุงนี้ จะช่วยเผยแพร่หลักการและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน โดยสนับสนุนการสร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในระดับนานาชาติ
การระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อลดความเสื่อมโทรมของดิน การผลักดันมาตรการอนุรักษ์ดินที่มีประสิทธิภาพ
ตามที่รวบรวมโดยสมัชชาความร่วมมือด้านทรัพยากรดินโลก รวมถึงสนับสนุนการริเริ่มโครงการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง
กฎบัตรดินโลกฉบับปรับปรุงใหม่นี้ สะท้อนถึงการพัฒนานโยบายที่สำคัญและความก้าวหน้า
ทางแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับดิน ตามที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการรับรองกฎบัตรฉบับแรก
รวมทั้งยังสอดคล้องกับประเด็นหลักเนื่องในปีดินสากล คือ “Healthy soils for a healthy life” เพื่อสนับสนุน
การจัดการทรัพยากรดินอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคทั่วโลก
นอกจากนี้ คณะกรรมการด้านการเกษตร ยังมีมติในการประชุมครั้งที่ 24 (29 กันยายน ถึง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2557) และสภามนตรี FAO ครั้งที่ 150 (1 - 5 ธันวาคม พ.ศ.2557) ประกอบด้วย :
1. ประกาศการรับรองกฎบัตรดินโลกฉบับปรับปรุง
2. แนะนำสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรให้มีการส่งเสริมหลักการ
และแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรฯ อย่างแข็งขัน และให้มีการสนับสนุนการแปลงหลักการและแนวทาง
เหล่านั้นไปสู่นโยบายที่เหมาะสมและมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภูมิภาค
และระดับนานาชาติ