Page 44 - การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                        34

                                                           บทที่ 5

                                                            สรุป

                   5.1 สรุปผลการด าเนินงาน

                          การไถกลบตอซังเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ต าบลคลองควาย อ าเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
                   ผู้ท าการศึกษาได้เก็บข้อมูล จากการศึกษาการผลิตข้าว เพื่อเปรียบเทียบระหว่างการผลิตข้าวของ
                   เกษตรกรแปลงเปรียบเทียบ การผลิตข้าวตามวิธีเดิมของเกษตรกร กับการผลิตข้าวของเกษตรกรโดย

                   วิธีการไถกลบตอซัง พบว่า
                          ดินก่อนเริ่มการศึกษาเป็นดินอยู่ในกลุ่มชุดดินเหนียว ดินจึงเป็นกรดจัดมากหรือดินเป็นดินเปรี้ยว
                   จัดถึงปานกลาง ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ 4.7 ท าให้เกิดการตรึงธาตุอาหารและ
                   ปลดปล่อยสารที่เป็นพิษต่อพืช โครงสร้างดินแน่นทึบ การไถพรวนยาก มีน้ าแช่ขังในฤดูฝน การระบายน้ า

                   ไม่ดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มักขาดธาตุอาหารหลักของพืชเนื่องจากถูกตรึงเอาไว้ โดยเฉพาะ
                   ธาตุฟอสฟอรัส เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวที่มีการไถกลบตอซัง มีค่าสมบัติทางเคมีของดิน
                   ดีกว่าการผลิตข้าวของเกษตรกรแปลงเปรียบเทียบ และการผลิตข้าวตามวิธีเดิมของเกษตรกร โดยมี

                   ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 3.83 เปอร์เซ็นต์ 0.24 และ
                   180 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อดินมีความอุดม
                   สมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นแล้วนั้น จะช่วยให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต
                   ให้กับเกษตรกร
                          ด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว จากการศึกษา พบว่า การผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอ

                   ซัง มีการเจริญเติบโตในด้านของความสูง จ านวนต้นต่อกอ เพิ่มขึ้นจาก 11 เป็น 12 จ านวนรวงต่อกอ
                   เพิ่มขึ้นจาก 14 เป็น 15.75  น้ าหนักและเปอร์เซ็นต์เมล็ดดี เพิ่มขึ้นจาก 90 เป็น 92  เปอร์เซ็นต์
                   ตามล าดับ ซึ่งมีการเจริญเติบโตไปในทิศทางที่เป็นบวก

                          ด้านปริมาณผลผลิต พบว่า การผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอซังมีปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจาก
                   วิธีเดิมของเกษตรกร 82 กิโลกรัมต่อไร่ โดยที่วิธีเดิมของเกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ได้ผลผลิต 853.80
                   กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อใช้วิธีการไถกลบตอซัง จ านวนผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 935.80 กิโลกรัมต่อไร่
                          ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า ถึงแม้ว่า การผลิตข้าวโดยวิธีการไถกลบตอซังท าให้ต้นทุน

                   การผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น จากแต่เดิมเคยใช้ต้นทุนการผลิตไร่ละ 3,251.30 บาท เพิ่มขึ้นเป็น
                   3,433.90 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง 182.60 บาทต่อไร่ แต่ได้รับผลตอบแทนสุทธิเพิ่มมากขึ้น
                   จาก 2,720.30 บาทต่อไร่ เป็น 3,116.70 บาทต่อไร่ และผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นจากวิธีเดิมที่เคยปฏิบัติ จาก
                   853.80 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 935.80 กิโลกรัมต่อไร่


                   5.2 ข้อเสนอแนะ

                          5.2.1 ควรมีการศึกษาในกลุ่มเกษตรกรที่ยังมีการเผาตอซังและฟางข้าว ว่าเกษตรกรกลุ่มนี้มี
                   เหตุผล หรือปัจจัยอะไรบ้างที่ยังคงมีการด าเนินวิธีการจัดการตอซังและฟางข้าว พฤติกรรมดังเดิม หรือมี

                   แรงจูงใจอะไรที่ยังคงท าเหมือนเดิม
                          5.2.2 ควรมีการศึกษา วิธีการผลิตน้ าหมักที่ช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าว เพื่อลดจ านวนวันใน
                   การหมักย่อยสลายตอซังและฟางข้าว เพื่อช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเลิกเผาตอซังและฟางข้าวได้ง่ายขึ้น
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49