Page 27 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
4.1) การจัดล าดับขององค์ประกอบแผนที่ เป็นการจัดต าแหน่งสัญลักษณ์และองค์ประกอบ
แผนที่ให้เป็นล าดับตามความส าคัญในบริเวณที่มองเห็นชัดที่สุดเป็นล าดับไป โดยให้องค์ประกอบของแผนที่
ที่มีล าดับความส าคัญสูงต้องอยู่บริเวณที่น่าสนใจที่สุดและมีสัดส่วนพื้นที่มากที่สุด แล้วลดขนาดพื้นที่กันไป
เรียกว่าจุดศูนย์กลางเชิงทัศน์
4.2) การจัดล าดับเนื้อหาของแผนที่ โดยต้องออกแบบให้เนื้อหาหลักมีความโดดเด่นและ
ส าคัญ ส่วนเนื้อหารอง ที่ประกอบเป็นฉากหลัง ต้องออกแบบให้ภาพประกอบพื้นหลังไม่รบกวนเนื้อหาหลัก
ที่น ามาแสดง
2.5 พจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary)
2.5.1 ความหมายของพจนานุกรมข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary) หมายถึง แฟ้มที่เก็บบันทึกรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูล
ที่จัดเก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น โครงสร้างข้อมูล โครงสร้างตาราง โครงสร้างดัชนี กฎที่ใช้เพื่อ
ควบคุม ความบูรณภาพของข้อมูล (Integrity rule) กฎที่ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security rule)
และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารฐานข้อมูล เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีความส าคัญ
ส าหรับระบบจัดการฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อด าเนินการเรื่องต่างๆ ในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ข้อมูล
เกี่ยวกับกฎที่ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล จะถูกน ามาใช้ในการพิจารณาก าหนดสิทธิ์ของผู้ใช้
ในระบบฐานข้อมูล ดังนั้น พจนานุกรมข้อมูล จึงเป็นสิ่งที่มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการจัดเก็บรายละเอียด
ของข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากทุกฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูล
(Metadata) ภายในฐานข้อมูล พจนานุกรมข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ
เกี่ยวกับข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ท าให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้โดยสะดวก ซึ่งในบางครั้ง
พจนานุกรมที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อใช้งานกับระบบฐานข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์ โดยระบบ
จัดการฐานข้อมูลจะท าการสร้างพจนานุกรมข้อมูลขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หากมีการใช้ค าสั่งในภาษาส าหรับ
นิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างที่ได้มาจากการออกแบบ
ฐานข้อมูล จากค าสั่งดังกล่าวจะท าให้ได้พจนานุกรมข้อมูลซึ่งจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลภายใน
ฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ชื่อฐานข้อมูล ชื่อตารางซึ่งเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างชื่อเขตข้อมูลในแต่ละตาราง
ชนิดและขนาดของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล เป็นต้น ทั้งนี้ การค้นหาหรือด าเนินการกับข้อมูลในความสัมพันธ์
ต่างๆ สามารถท าผ่านระบบจัดการฐานข้อมูลได้ด้วยการใช้ค าสั่งที่เขียนขึ้นมาจากภาษาส าหรับด าเนินการ
กับข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) ผ่านไปยังพจนานุกรมข้อมูล
2.5.2 องค์ประกอบของพจนานุกรม
พจนานุกรมข้อมูลควรมีองค์ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1) ชื่อข้อมูล (Name and aliases of the data item) ในพจนานุกรมข้อมูลจะประกอบ
ด้วยชื่อข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปจะถูกเรียกใช้ด้วยซอฟต์แวร์ในส่วนต่างๆ ของระบบจัดการฐานข้อมูล หากข้อมูล
เดียวกันมีชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรม พจนานุกรมข้อมูลก็จะต้องระบุชื่อที่ต่างกันของข้อมูลนั้นๆ
ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้ว่าหมายถึงข้อมูลเดียวกัน