Page 29 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
2.5.4.2 พจนานุกรมข้อมูลแบบแอคทีฟ (Active) เป็นพจนานุกรมข้อมูลของระบบงาน
หนึ่งๆ ที่ระบบจัดการฐานข้อมูลด าเนินการสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น พจนานุกรมแบบแอคทีฟ จึงเป็น
พจนานุกรมที่เก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละระบบ ซึ่งในระบบฐานข้อมูล
เชิงสัมพันธ์ โครงสร้างข้อมูลของพจนานุกรมแบบแอคทีฟ จะมีลักษณะเป็นตารางที่มีการออกแบบ
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงสามารถน าข้อมูลจากพจนานุกรมแบบแอคทีฟ ไปใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวก
2.5.4.3 พจนานุกรมข้อมูลแบบเอเลียน (Alien) เป็นพจนานุกรมข้อมูลของระบบงาน
ทั้งหมดภายในองค์กร เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นผลมาจากการออกแบบ
ฐานข้อมูลของระบบงานต่างๆ ภายในองค์กร ท าให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการใช้งานระบบฐานข้อมูล
ภายในองค์กรซึ่งสามารถน าไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมาย
2.5.5 ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูลอาจสามารถจ าแนกได้
2 ระดับ คือ ระดับระบบงาน และระดับองค์กร
2.5.5.1 ระดับระบบงาน ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูลในระดับระบบงานมี ดังนี้
1) เป็นเอกสารเพื่อการอ้างอิง ส าหรับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
การฝึกอบรมบุคลากร การพัฒนาระบบงาน และการบ ารุงรักษาระบบงาน
2) สนับสนุนการบริหารจัดการฐานข้อมูลในแต่ละระบบงาน ตัวอย่างเช่น
การลดความซ้ าซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การควบคุมการใช้ฐานข้อมูล
พร้อมกันจากผู้ใช้หลายคน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลบนฐานข้อมูล เป็นต้น
3) สนับสนุนการสร้างมาตรฐานในการพัฒนาระบบงาน โดยการน าสารสนเทศ
ที่ได้จากพจนานุกรมข้อมูล ตัวอย่างเช่น ชื่อเขตข้อมูลในแต่ละตาราง คุณสมบัติของแต่ละเขตข้อมูล
ในตารางความสัมพันธ์ระหว่างตาราง เป็นต้น ไปใช้ประกอบการแก้ไขโครงสร้างข้อมูลหรือปรับปรุงโปรแกรม
ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานเดียวกัน
2.5.5.2 ระดับองค์กร ประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูลในระดับองค์กรมี ดังนี้
1) สนับสนุนการบริหารจัดการฐานข้อมูลขององค์กร เนื่องจากรายละเอียดและ
ข้อมูลต่าง ๆ ที่จัดเก็บอยู่ในพจนานุกรมข้อมูลท าให้ทราบว่า ระบบงานใดมีความเกี่ยวข้องกัน จึงสามารถ
น าข้อมูลจากระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กรมาเชื่อมโยงและรวมเป็นฐานข้อมูลเดียวกันได้อย่างเป็นขั้นตอน
2) สนับสนุนการท างานของผู้บริหาร เนื่องจากการเชื่อมโยงและรวมข้อมูลจาก
ระบบงานต่างๆ ภายในองค์กรเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน ท าให้สามารถรองรับความต้องการในการใช้งานที่
หลากหลายของผู้ใช้ในระดับต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการในการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร ซึ่งมัก
เป็นการวิเคราะห์ สรุปรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ เข้าด้วยกัน หากต้องการรายละเอียดก็สามารถเข้า
ไปสืบค้นเพิ่มเติมได้ ท าให้ผู้บริหารสามารถท าการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการสนับสนุนการท างานของผู้บริหารดังกล่าวนี้สามารถจัดท าเป็นระบบ
สารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
(Executive Information System : EIS) หรือระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System
: DSS) ได้