Page 22 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        12




                                 3) ใน 1 เรคคอร์ด (Record) เก็บข้อมูลได้มากสุด 1000 ไบต์ (Bytes) หรือ ไม่เกิน 32
                   ฟิลด์ (Field)

                                 4) การสร้างชื่อฟิลด์ (Field) จ ากัด 8 ตัวอักษร
                                 5) สามารถเก็บตัวอักษรในฟิลด์ (Field) ได้มากสุด 254 ไบต์ (Bytes)
                                 6) ไม่รองรับระบบยูนิโค๊ด (Unicode)


                   2.3 แผนที่ (Map)
                           ในปัจจุบันแผนที่จัดเป็นเครื่องมือที่ส าคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ได้จ ากัด

                   ในวงการการศึกษา หรืองานวิชาการเท่านั้น แต่การน ามาใช้ในปัจจุบันมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะแผนที่
                   ที่ให้บริการในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ (Map service) ซึ่งสามารถเรียกใช้งานง่าย สะดวก และสามารถใช้งาน
                   ได้ทุกที่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีหน่วยงานต่างๆ ให้ค าจ ากัดความแผนที่ ยกตัวอย่างเช่น
                           ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : (2552) ได้ให้ค าจ ากัด
                   ความว่า แผนที่ คือ “การจ าลองสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกมาย่อส่วนให้เล็กลงตามมาตราส่วนที่ต้องการ

                   บนแผ่นวัสดุที่เลือกสรรแล้ว สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก ประกอบด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
                   รวมทั้งสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งแสดงให้ปรากฏด้วยสัญลักษณ์ เส้น สี หรือรูปทรงสัณฐานต่างๆ ”
                           ค าจ ากัดความจากหนังสือ การอ่านแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ (ภาควิชาภูมิศาสตร์

                   มหาวิทยาลัยรามค าแหง, 2540 : 8) แผนที่ คือ “สิ่งที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตาม
                   ธรรมชาติและส่วนที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น โดยน ามาแสดงลงในพื้นราบจะเป็นกระดาษ หรือวัตถุอย่างใดอย่าง
                   หนึ่งที่แบน ด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ทิศทาง
                   มาตราส่วน และสิ่งอื่นๆ ที่ท าให้การอ่านลักษณะภูมิประเทศได้ถูกต้องและแม่นย ายิ่งขึ้น”

                           2.3.1 การจ าแนกชนิดของแผนที่

                           การจ าแนกชนิดของแผนที่ สามารถน ามาจัดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายประเภท เช่น การแบ่ง
                   ตามมาตราส่วนแผนที่ การแบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏบนแผนที่ การแบ่งตามชนิดของการใช้งาน
                   หรือรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่ และการแบ่งตามมาตรฐานของสมาคมคาร์โตกราฟฟี่ระหว่างประเทศ
                   (International Cartographic Association : ICA) แต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทแผนที่จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

                   ประกอบด้วย
                                 1) แผนที่แบบแบน เป็นแผนที่แสดงพื้นที่ผิวในทางราบ ไม่สามารถบอกความสูงต่ าของ
                   ภูมิประเทศได้ ใช้แสดงต าแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ทางน้ า ถนน และสามารถหาระยะทางในทางราบและ

                   เส้นทางได้
                                 2) แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงให้เห็นความสูงต่ าของภูมิประเทศ แผนที่ภูมิประเทศ
                   มีรายละเอียดต่างๆ เช่นเดียวกับแผนที่แบบแบน โดยส่วนมากมักจะเป็นแผนที่มาตราส่วนใหญ่
                                 3) แผนที่ภาพถ่าย เป็นแผนที่ที่ท าขึ้นจากภาพถ่ายทางอากาศโดยการต่อภาพ ใช้
                   สัญลักษณ์ประกอบเพิ่มเติม ท าได้รวดเร็วแต่อ่านยาก ไม่สามารถสังเกตความสูงต่ าของภูมิประเทศได้

                   ชัดเจนต้องใช้กล้องกระจกหรือแว่นขยายประกอบการดูจึงจะเห็นภาพสามมิติชัดเจน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27