Page 25 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        15




                                 1) ด้านการด ารงชีวิตประจ าวัน เช่น การใช้แผนที่ถนนน าทาง การใช้แผนที่ตรวจสอบ
                   การจราจร และการใช้แผนที่เพื่อค้นหาสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

                                 2) ด้านการทหาร ใช้ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จ าเป็นต้องมีข้อมูล
                   หรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และต าแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง
                   ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่ส าคัญ
                                 3) ด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช้แผนที่เพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

                   สังคมแห่งชาติ โดยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับ ที่ตั้ง สภาพทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร
                   และ แผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ ท าให้การวางแผนและพัฒนา
                   เป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

                                 4) ด้านการเมืองการปกครอง ใช้แผนที่เพื่อศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และน ามาวางแผน
                   ด าเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จ าเป็นต้อง
                   อาศัยแผนที่ในการวางแผนด าเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ใน
                   กิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งส าคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่อื่นๆ เช่น แผนที่
                   เส้นทางคมนาคม เป็นต้น

                                 5) ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจ าเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะท าให้รู้จัก
                   สถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง
                                 6) ด้านการส ารวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาธรณีวิทยา เพื่อให้

                   ทราบความเป็นมาของแหล่งทรัพยากร ดิน หิน แร่ธาตุ ด้านสมุทรศาสตร์และการประมง เพื่อให้ทราบ
                   สภาพแวดล้อมชายฝั่งทางทะเล ด้านทรัพยากรน้ า รู้ข้อมูลเกี่ยวกับแม่น้ าและการไหล อ่างเก็บน้ า ระบบ
                   การชลประทาน ด้านป่าไม้ เพื่อให้ทราบคุณลักษณะของป่าไม้ และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้
                                 7) ด้านการศึกษาวิจัย โดยแผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความ

                   เข้าใจในบทเรียนดีขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการ
                   กระจายของสิ่งต่างๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่างๆ และสามารถน าไปศึกษา
                   สถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่ได้


                   2.4 การออกแบบและจัดท าแผนที่
                           ในการจัดท าแผนที่การออกแบบแผนที่มีความส าคัญมากเนื่องจาก แผนที่คือสื่อที่ใช้ในการ
                   น าเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ เนื่องจากแผนที่เป็นภาพที่แปลตีความแล้ว จึงควรออกแบบให้ผู้ใช้ สามารถท า
                   ความเข้าใจแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะน าไปสู่ความเข้าใจลักษณะของพื้นที่ตรงตามวัตถุประสงค์แท้จริง

                   ของแผนที่ โดยการออกแบบแผนที่ที่ดีต้องสร้างความชัดเจนของแนวคิดให้มีความเข้าใจปรากฏการณ์
                   เชิงพื้นที่อย่างชัดเจน แล้วคัดเลือกข้อมูลที่ส าคัญเพื่อเป็นตัวแทนของลักษณะพื้นที่ เลือกใช้สัญลักษณ์ที่
                   เหมาะสม วางต าแหน่งและตัวอักษรไม่ซ้อนทับกัน ท าให้มองเห็นง่าย และอ่านตัวอักษรได้ง่าย ไม่แสดง

                   ข้อมูลมากเกินความจ าเป็น เพื่อให้สังเกตและดึงข้อมูลส าคัญได้อย่างรวดเร็ว และสามารถจดจ าลักษณะ
                   ข้อมูลแผนที่ได้ง่าย การออกแบบแผนที่ประกอบด้วยหลักการออกแบบ 4 หลักการ คือ หลักภาพ-พื้น
                   (Figure-Ground)  หลักความสมดุลเชิงทัศน์ (Visual  balance)  หลักความเปรียบต่าง (Contrast)  และ
                   หลักการล าดับเชิงทัศน์ (Visual  hierarchy)  ซึ่งส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
                   (2552: 37) ได้อธิบายไว้ดังนี้
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30