Page 17 - การประยุกต์ใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดิน และข้อมูลการใช้ที่ดินสำหรับให้บริการบนแอปพลิเคชันสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
2.1.3.5 การน าเสนอข้อมูล (Visualization) จากการด าเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์
ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือท าความเข้าใจ
การน าเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (Chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง แผนที่
ภาพเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะท าให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพ
ของผลลัพธ์ที่ก าลังน าเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย (ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศ
เพื่อประเทศไทย. ม.ป.ป. ออนไลน์)
2.2 ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วยข้อมูล 2 รูปแบบ คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่
(Spatial data) และข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Non- Spatial data) ข้อมูลแต่ละประเภทมีรายละเอียด
ดังนี้
2.2.1 ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data)
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต าแหน่งที่ตั้งของข้อมูลต่างๆ บนพื้นโลก
หรือ ข้อมูลที่แสดงต าแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของรูปลักษณ์ของพื้นที่ (Graphic feature) ข้อมูลเชิงพื้นที่
สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ข้อมูลเวกเตอร์ (Vector data) และข้อมูลราสเตอร์ (Raster data)
2.2.1.1 ข้อมูลเวกเตอร์ (Vector) หรือข้อมูลแสดงทิศทางพื้นที่และต าแหน่งประกอบ
ด้วย จุด เส้น หรือพื้นที่ ที่ประกอบด้วยจุดพิกัดทางแนวราบ (X , Y) และ/หรือ แนวดิ่ง (Z) หรือ ระบบพิกัด
แบบคาร์ทีเซียน (Cartesian Coordinate System) หรือระบบพิกัดที่แบบราบ ถ้าเป็นพิกัดต าแหน่งเดียว
ก็จะเป็นค่าของจุด ถ้าจุดพิกัดสองจุดหรือมากกว่าจะเป็นค่าของเส้น ส่วนพื้นที่นั้นจะต้องมีจุดมากกว่า 3
จุดขึ้นไป และจุดพิกัดเริ่มต้นและจุดพิกัดสุดท้ายจะต้องอยู่ต าแหน่งเดียวกัน ลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ ใน
รูปแบบเวกเตอร์จะมีลักษณะและรูปแบบ (Spatial features) ต่างกัน สรุปได้ดังนี้ คือ
1) ข้อมูลแบบจุด (Point features) เป็นต าแหน่งพิกัดที่ไม่มีขนาดและทิศทาง
จะใช้แสดงข้อมูลที่เป็นลักษณะของต าแหน่งใด ๆ เช่น ที่ตั้งของวัดในจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ตั้งของสถานี
ต ารวจภูธรในจังหวัดลพบุรี ต าแหน่งที่ตั้งของสนามบิน เป็นต้น
ภาพที่ 2-1 ข้อมูลในรูปแบบจุด
2) ข้อมูลแบบเส้น (Line features) เป็นข้อมูลที่มีระยะและทิศทางระหว่าง
จุดเริ่มต้น ไปยังจุดแนวทาง (Vector) และจุดสิ้นสุด ประกอบไปด้วยลักษณะของเส้นตรง เส้นหักมุม และ
เส้นโค้ง เช่น ถนน ทางรถไฟ คลอง เป็นต้น
ภาพที่ 2-2 ข้อมูลในรูปแบบเส้น