Page 44 - การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       34







                                   3.  กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่มีจ านวนเกษตรกรผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       แบบมีส่วนร่วม (PGS)  น้อยกว่าเกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS     ได้แก่ กลุ่มปลูกฮัก (วิสาหกิจ
                       ชุมชนเกษตรอินทรีย์ค าเขื่อนแก้ว) จังหวัดยโสธร   โดยเกษตรกรตัวอย่าง 40 คน  ผ่านการรับรอง

                       PGS  จ านวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ไม่ผ่านการรับรอง PGS  จ านวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 60
                       เหตุผลเนื่องมาจากกลุ่มเกษตรกรจังหวัดยโสธรเพิ่งเข้าสู่กระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบการ

                       รับรองแบบมีส่วนร่วม   เกษตรกรที่ยังไม่ผ่านการรับรองส่วนใหญ่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน  ซึ่งหากท า
                       ตามกระบวนการ PGS จนพ้นระยะปรับเปลี่ยน ก็จะผ่านการรับรอง PGS ได้

                                   4. กลุ่มเกษตรตัวอย่างที่มีจ านวนเกษตรกรไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
                       แบบมีส่วนร่วมทั้งหมด ได้แก่  กลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์  เกษตรกรตัวอย่างทั้ง 9
                       คน ไม่ผ่านการรับรอง PGS   เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรกลุ่มนี้เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อรวมตัวกันท าการ
                       ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์  แต่กลุ่มไม่สามารถด าเนินการกระบวนการกลุ่มต่อไปได้ เพราะผู้น ากลุ่ม

                       เป็นคนนอกพื้นที่  ไม่สามารถท าให้สมาชิกรวมกันท ากิจกรรมกลุ่มได้  และยังขาดหน่วยงานภาครัฐให้
                       การสนับสนุน  ส่งผลให้ไม่มีสมาชิกคนใดผ่านการรับรอง PGS ได้
                                  เมื่อพิจารณาข้อมูลในกลุ่มของเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง PGS จ านวน 153 คน  พบว่า
                       กลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดสุรินทร์มีเกษตรกรผ่านการรับรอง PGS มากที่สุดจ านวน  48 คน คิดเป็นร้อย

                       ละ 31.4  รองลงมาคือ จังหวัดเชียงใหม่ ล าปาง ยโสธร  และนครปฐม  จ านวน 41  34  16 และ 14
                       คน คิดเป็นร้อยละ 26.8  22.2  10.4 และ 9.2  ตามล าดับ   (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 3)
                       เหตุผลที่จังหวัดสุรินทร์มีจ านวนเกษตรกรตัวอย่างผ่านการรับรอง PGS  มากที่สุด  เนื่องจากกลุ่ม

                       สหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย  มีการรวมกลุ่มของสมาชิกที่ท าการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์มานาน
                       มากกว่า 10 ปี  กลุ่มนี้มีประธานกลุ่มที่เข้มแข็ง มีความเสียสละ สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีความเข้าใจ
                       เรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างดี  ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลแล้ว เช่น
                       NOP  EU    IFOAM  เป็นต้น ชนิดพืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว  แตงโม พืชหลังนา  และปลูกแบบ
                       ผสมผสาน

                                       เมื่อพิจารณาข้อมูลในกลุ่มของเกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS  จ านวน 122 คน
                       พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดสุรินทร์มีเกษตรกรที่ไม่ผ่านการรับรอง PGS มากที่สุดจ านวน  39 คน
                       คิดเป็นร้อยละ 32.0  รองลงมาคือ จังหวัดเชียงใหม่ ยโสธร นครปฐม  เพชรบูรณ์ และล าปาง  จ านวน

                       34  24 10 9 และ 6 คน  คิดเป็นร้อยละ 27.8  19.7  8.2  7.4 และ 4.9  ตามล าดับ เหตุผลที่จังหวัด
                       สุรินทร์มีสมาชิกไม่ผ่านการรับรอง PGS  มากที่สุดเช่นกัน  เนื่องจากสมาชิกบางส่วนยังไม่ด าเนินการ
                       ตามขั้นตอนกระบวนการ PGS   ไม่ท าตามกฎกติกา จึงยังไม่สามารถผ่านการรับรอง PGS  ได้
                       นั่นแสดงให้เห็นว่าการจะผ่านการรับรอง PGS ได้จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างจากผ่านการรับรองมาตรฐาน

                       เกษตรอินทรีย์ที่ตรวจรับรองโดยหน่วยตรวจรับรอง ที่ไม่ต้องพิจารณาเรื่องกฏกติกาและกระบวนการ
                       ตามขั้นตอนของ PGS
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49