Page 35 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการเขตพัฒนาที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำคลองรับร่อ บ้านจันทึง หมู่ที่ 5 ตำบลหินแก้ว อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       21


                         1.8.1 เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าพืชที่ปลูกในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับดินในพื้นที่ตนเอง
               หรือไม่ แต่จะท าตามแนวทางที่บรรพบุรุษได้ท ามา ถ้าหากพืชที่ปลูกมีความเจริญ งอกงามดีให้ผลผลิตสูง เป็นที่

               ต้องการของตลาด ผลผลิตราคาดี ผลตอบแทนการผลิตสูง เกษตรกรก็จะปลูกพืชชนิดนั้นตามเรื่อยมา  ซึ่งใน
               พื้นที่ที่จัดท าเขตพัฒนาที่ดินพบว่าพืชที่ปลูกมากที่สุด คือปาล์มน้ ามัน รองลงมาเป็นยางพารา ตามล าดับ
                         1.8.2 จากการส ารวจความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ที่ดินในปัจจุบันต่อการประกอบ
               อาชีพของเกษตรกรในเขตพัฒนาที่ดิน พบว่าเกษตรกร มีความพึงพอใจในรูปแบบการใช้ที่ดินในการท า

               การเกษตรดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากในปัจจุบันพืชที่ปลูกมีราคาสูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาก และ
               เกษตรกรมีความคุ้นเคยตั้งแต่สมัยอดีต แต่ในปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันมาปลูกปาล์มน้ ามันเพิ่มขึ้น เนื่องในพื้นที่
               ดังกล่าวมีโรคระบาดในต้นยางพาราและในสวนผลไม้ เกษตรกรจึงหันมาปลูกปาล์มน้ ามันทดแทนพื้นที่ดังกล่าว
                         1.8.3 ความคิดเห็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชของเกษตรกรที่ส ารวจ พบว่าเกษตรกร

               มีความคิดเห็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชใกล้เคียงกัน โดยการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยร้อยละ 90.32
               รองลงมาการใช้ปุ๋ยหมักเฉลี่ยร้อยละ 70.97 น้ าหมักชีวภาพเฉลี่ยร้อยละ 35.48 และการใช้สารปรับปรุงบ ารุง
               ดินเฉลี่ยร้อยละ 32.26 ตามล าดับ
                         1.8.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนที่จะเปลี่ยนอาชีพไปสู่นอกภาคการเกษตร จะเห็นว่า

               เกษตรกรที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงมีเพียงเล็กน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะเปลี่ยนอาชีพไปท างานนอก
               การเกษตร สาเหตุที่เกษตรกรไม่ต้องการเปลี่ยนไปท างานนอกการเกษตร เนื่องจากเห็นว่าอาชีพท าการเกษตร
               เป็นอาชีพดั้งเดิม เกษตรกรมีประสบการณ์ความช านาญในการประกอบอาชีพท าการเกษตร และเกษตรกรไม่มี

               ความรู้เกี่ยวกับการออกไปประกอบอาชีพนอกการเกษตร เป็นต้น
                       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของเกษตรกรปลูกปาล์มน้ ามัน และยางพารา ในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน เกษตรกร
               ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในรูปแบบการปลูกยางพารามากกว่าปลูกปาล์มน้ ามัน ถ้าไม่มีข้อจ ากัดเกี่ยวกับราคา
               ผลผลิต โรคที่เกิดกับยางพาราและสภาพดินฟูาอากาศเข้ามาเกี่ยวข้อง ส าหรับการใช้ปัจจัยการผลิตในปัจจุบัน
               เช่น ปุ๋ยเคมีนับเป็นปัจจัยการผลิตที่ส าคัญ   ซึ่งในปัจจุบันมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะการปลูกปาล์มน้ ามันต้องใส่

               ปุ๋ยเคมีเฉลี่ยต้นละ 6-12 กิโลกรัมต่อปีหรือเฉลี่ยไร่ละ 132-264 กิโลกรัมต่อปี ส่วนยางพาราเฉลี่ยไร่ละ 50-
               100 กิโลกรัมต่อปี สาเหตุที่เกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ ามัน เนื่องมาจากราคาผลผลิตยางพาราในปัจจุบัน
               ลดลงอย่างมาก มีโรคระบาด และสภาพภูมิอากาศในภาคใต้มีฝนตกชุก เกษตรกรปลูกยางพาราขาดรายได้

               ในช่วงที่มีฝนตกซึ่งนับเป็นตัวแปรส าคัญ และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ค่าจ้างแรงงานยางพาราต้องกรีดเกือบทุกวัน
               ส่วนปาล์มน้ ามันเก็บผลผลิตช่วงระยะเวลา 15-20 วันครั้ง เป็นการจ้างแรงงานเป็นครั้งคราว เกษตรกรจึงหัน
               มาปลูกปาล์มน้ ามันเพิ่มขึ้น ทั้งที่ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของเกษตรกรปลูกยางพาราได้รับมากกว่า กรณี
               เกษตรกรมีที่ดินเพียงพอจะปลูกทั้งยางพาราและปาล์มน้ ามัน


               2.9 การวิเคราะห์ SWOT
                       เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ าคลองรับร่อ จังหวัดชุมพร ได้วิเคราะห์ SWOT โดยศึกษาสภาพการณ์ภายในและ
               ภายนอก โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจ ากัด ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้าน

               โครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม
                       1. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
                          1) จุดแข็ง (Strength)
                              (1) ทรัพยากรดิน ร้อยละ 41.91 ของพื้นที่ลุ่มน้ า มีศักยภาพในการท าเกษตรกรรม ปลูกไม้ผล

               ไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจที่ปลูก ได้แก่ ปาล์มน้ ามัน ยางพารา ไม้ผล และกาแฟ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40