Page 41 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
บทที่ 5
สรุปผลการด าเนินงาน
5.1 สรุป
การด าเนินการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านการปรับปรุงบ ารุงดินของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต
และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตล าไยในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอ าเภอ
เชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินในพื้นที่ด าเนินงานในปี 2558-2559 พบว่า ค่าความเป็น
กรดเป็นด่างของดิน ในปี 2558 ดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรงมาก (pH 4.3) เกษตรกรมีการใช้ปูนโดโลไมท์
ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ท าให้ดินมีสภาพเป็นกรดปานกลาง (pH 5.8) ปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรได้ใช้ใบล าไยในการผลิตปุ๋ยหมัก และน ามาใส่
รอบทรงพุ่มล าไยอยู่เป็นประจ า ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกษตรกรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินท าให้มีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการ
ของพืช ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้น้ าหมักชีวภาพในการปรับปรุงบ ารุงดินอยู่เป็นประจ า
การปรับปรุงบ ารุงดินประกอบกับการตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งช่อดอก การใช้ฮอร์โมนยืดช่อ การใช้น้ า
หมักชีวภาพร่วมกับแคลเซียมโบรอน การใช้สารไล่แมลงที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ร่วมกับการใช้
เชื้อราพาซิโลมัยซิสไลลาซินัส ท าให้ผลผลิตล าไยมีคุณภาพมากขึ้น ผลผลิตล าไยของเกษตรกรมีเกรด AA
เกรด A เพิ่มขึ้น จาก 100 และ 250 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 400 และ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ ในด้าน
ผลตอบแทนของเกษตรกรหลังด าเนินการ เกษตรกรมีต้นทุนการจัดการผลผลิตล าไยเพิ่มขึ้นจาก 5,777.75
บาทต่อไร่ เป็น 7,902.75 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 36.77 แต่เกษตรกรผลิตล าไยที่มีคุณภาพดีขึ้น มีล าไย
เกรด AA เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ท าให้ขายล าไยได้ในราคาที่สูงขึ้น เกษตรกรจึงได้รับผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่าย
ผันแปรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จาก 7,822.25 บาทต่อไร่ เป็น 13,597.25 บาทต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 73.82
ค่าผลประโยชน์ต่อการลงทุน (B:C ratio) เพิ่มขึ้นจาก 1.35 เป็น 1.72
ผลการจัดท าฐานเรียนรู้ ทั้ง 4 ฐาน พบว่า ในฐานเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตมีการจัดท า
นิทรรศการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต การจัดท าแปลงสาธิตในการ
ปรับปรุงบ ารุงดิน มีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อนและหลังด าเนินการเพื่อให้
ค าแนะน าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน รวมถึงการใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับสภาพดินกรดเพิ่มความเป็น
ประโยชน์ของธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ได้ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
ปุ๋ยอินทรีย์ มีการใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ท าให้ต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง
ร้อยละ 58.81 ในฐานเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการเลือกวัสดุส าหรับผลิตน้ าหมักชีวภาพ เพื่อให้
ได้ธาตุอาหารและฮอร์โมนสอดคล้องกับความต้องการของพืช ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มการ
ติดดอก ติดผล มีขั้วเหนียว ป้องกันการหลุดร่วงของผล ท าให้อัตราการติดดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ