Page 14 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         6





                   2.2  สภาพภูมิอากาศ

                          จากสถิติภูมิอากาศ  ณ สถานีตรวจวัดอากาศ อ าเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (ปี พ.ศ.2547-2558)
                   ดังตารางที่ 1   จัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Tropical    savannah:     Aw)
                   ตามระบบการจ าแนกภูมิอากาศของ Koppen โดยมีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,335.4 มิลลิเมตร ความชื้น
                   สัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 84.53  เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยทั้งปี 34.66  องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ

                   ต่ าสุดเฉลี่ยทั้งปี 18.69 องศาเซลเซียส สามารถแบ่งลักษณะภูมิอากาศออกเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่
                          ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม
                   มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เดือนที่มีฝนตกหนักมากสุดคือเดือนสิงหาคม ปริมาณฝนเฉลี่ย 287.72  มิลลิเมตร
                   เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นที่พัดเข้ามาในช่วงดังกล่าว

                          ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลม
                   มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งแล้ง เดือนมกราคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย
                   11.64 องศาเซลเซียส

                          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ระยะนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันออก
                   เฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไปจะสูงขึ้นท าให้มีสภาพอากาศร้อนกว่าปกติ และจะร้อนมากที่สุดในเดือน
                   เมษายน โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.95  องศาเซลเซียส ทั้งนี้ อาจจะมีพายุฤดูร้อน เกิดขึ้นเนื่องจาก
                   อากาศเย็นจากประเทศจีนได้เคลื่อนตัวลงมาเป็นครั้งคราว ท าให้เกิดปะทะกับอากาศร้อนเขตท้องถิ่น เกิด
                   เป็นแนวปะทะอากาศเย็น ท าให้มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นแต่มีฝนตกไม่นาน

                          นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์สมดุลน้ าเพื่อการเกษตร (ภาพที่ 2) โดยพิจารณาระหว่างค่าปริมาณ
                   น้ าฝนรายเดือนเฉลี่ย กับค่าศักยภาพการคายระเหยน้ าของพืชรายเดือนเฉลี่ย พบว่าช่วงระยะเวลาที่
                   เหมาะสมในการเพาะปลูกพืช อยู่ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในช่วงระยะเวลา

                   ดังกล่าว อาจจะต้องประสบปัญหาภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนต่อเนื่องถึงเดือน
                   กรกฎาคมของทุกปี ดังนั้น ควรวางแผนจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมและจัดหาแหล่งน้ าสนับสนุน
                   เพื่อป้องกันพืชผลเสียหายเนื่องจากฝนแล้ง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19