Page 9 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันล าไยเป็นผลไม้ที่สามารถผลิตได้ในหลายประเทศทั่วโลก แต่คุณภาพของล าไยและต้นทุน
ในการผลิตในประเทศไทยยังถือว่ามีคุณภาพดีที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มพื้นที่สวนล าไยในประเทศไทย
มากขึ้น รวมไปถึงประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นคู่แข่งส าคัญของไทย ท าให้ราคาล าไยมีแนวโน้มตกต่ าลง
อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีมาตรการในระยะยาวที่จะช่วยเหลือชาวสวนล าไย โดยปรับโครงสร้างการผลิต
ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีการก าหนดพื้นที่ด าเนินการ สินค้าที่จะด าเนินการ และให้มี
ผู้จัดการพื้นที่ ท าหน้าที่ในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน (supply) โดยมีการก าหนดเป้าหมาย
การด าเนินการในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน จัดท าแผนการผลิต แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และแผน
การตลาด โดยบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน
ในพื้นที่จังหวัดน่าน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร สหกรณ์
เครือข่ายผลไม้จังหวัดน่าน ตลอดจนภาคเอกชนที่เป็นบริษัทรวบรวมผลไม้รายใหญ่ในจังหวัดน่าน ได้จัด
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และคัดเลือกแปลงล าไย ต าบลพญาแก้ว อ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ให้เป็นพืชเกษตรแปลงใหญ่ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยผ่านความเห็นชอบของ
คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดน่าน เพื่อบูรณาการงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อน
การผลิตผลไม้ล าไยที่มีคุณภาพ ตามความต้องการของตลาด
แปลงใหญ่ล าไย ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านพญาแก้ว หมู่ที่ 4 ต าบลพญาแก้ว อ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
เป็นกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว เป็นดินลึกปานกลาง สภาพปัญหา
ที่พบคือ เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีอินทรียวัตถุต่ า
มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า ล าไยเป็นพืชที่มีระบบรากลึกอาจถูกจ ากัดการเจริญเติบโตจากเศษหิน
ปะปนหนาแน่นใต้ดิน มีความเหมาะสมในการปลูกล าไยอยู่ในระดับปานกลาง (S2) เนื่องจากติดข้อจ ากัด
ด้านความลึกของดินซึ่งจะมีผลต่อการหยั่งลึกของรากพืช เพื่อหาอาหารและยึดล าต้นด้านศักยภาพการใช้
เครื่องจักรและความเสียหายจากการกัดกร่อน เกษตรกรขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแปลงล าไย
ท าให้ผลผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้คุณภาพ ต้องขายคละเกรด จ าหน่ายในราคาต่ า ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับ
การลงทุน
เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเพื่อหาแนวทางใน
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตล าไยคุณภาพดี และลดต้นทุนการผลิต ผู้ศึกษาจึงได้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี
ด้านการปรับปรุงบ ารุงดินของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมกับแปลงล าไย ปรับปรุงบ ารุงดิน
เพิ่มธาตุอาหารในดินให้ถูกช่วงเวลา ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของล าไย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ