Page 11 - การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพื่อการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูกลำไยในกลุ่มชุดดินที่ 55 ชุดดินวังสะพุง ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3





                   ปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0-5.5) และพบชั้นพบชั้นหินผุและหินพื้นในช่วง
                   ความลึก 50-100 เซนติเมตร จากผิวดิน

                   1.5  ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน

                         1.5.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่
                              ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ และข้อมูลดิน
                         1.5.2 วิเคราะห์ดินก่อนและหลังด าเนินการ

                              เก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังด าเนินการการโดยท าการสุ่มเก็บแบบ composite  sample
                   โดยใช้จอบขุดดินเป็นรูปตัว V  ระดับความลึก 0-30 เซนติเมตร แล้วจึงแซะเอาหน้าดินด้านข้างหนา
                   ประมาณ 2-3 เซนติเมตร จากปากหลุมขนานลงไปตามหน้าดินที่ขุดไว้ลึกถึงก้นหลุม น าดินมาคลุกเคล้าให้

                   ทั่วกันและแบ่งตัวอย่างดินออกมาประมาณ 1 กิโลกรัม น าตัวอย่างดินดังกล่าวส่งกลุ่มวิเคราะห์ดิน
                   ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 เพื่อวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)  ปริมาณอินทรียวัตถุ
                   (OM)  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail.P)  และปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์
                   (Avail.K)  โดยใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้ อินทรียวัตถุ (OM)  วิเคราะห์โดยวิธี Walkley  and  Black  (1947)

                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Avail.P) วิเคราะห์โดยวิธี Bray II (Bray and Kurt, 1947) โพแทสเซียมที่เป็น
                   ประโยชน์ (Avail.K) ที่สกัดด้วย Double Acid (ส านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, 2547)
                         1.5.3 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                               วิธีการใช้ปุ๋ยตามค าแนะน าการใช้ปุ๋ยจากห้องปฏิบัติการ ใช้ปุ๋ยผสม ประกอบด้วย ปุ๋ยเคมี

                   สูตร 15-15-15 อัตรา 46 กิโลกรัมต่อไร่ (2.3 กิโลกรัมต่อต้น) ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่
                   (0.3  กิโลกรัมต่อต้น)  แบ่งใส่ทุกๆ 3  เดือน (เดือนกันยายน เดือนธันวาคม เดือนมีนาคม และเดือน
                   มิถุนายน)
                         1.5.4 การใช้ปูนโดโลไมท์ในการปรับสภาพดินกรด โรยรอบทรงพุ่ม อัตราใช้ 350 กิโลกรัมต่อไร่

                   (17.5 กิโลกรัมต่อต้น) ในช่วงต้นฤดูฝน
                         1.5.5 การใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบ ารุงดินเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
                              ผลิตปุ๋ยหมักจากใบล าไย โรยรอบทรงพุ่ม ทุกเดือนอัตราใช้ 400 กิโลกรัมต่อไร่ (20 กิโลกรัม

                   ต่อต้น)
                         1.5.6 การใช้น้ าหมักชีวภาพในการเร่งการออกดอก เพิ่มการติดผล เพิ่มการแตกยอดใหม่
                              ซึ่งประกอบด้วย 3 สูตร ดังนี้ สูตรผักผลไม้ ใช้ผักผลไม้ จ านวน 20 กิโลกรัม ล าไยสุก จ านวน
                   20 กิโลกรัม น้ า จ านวน 10 ลิตร กากน้ าตาล จ านวน 10 กิโลกรัม สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 จ านวน 1 ซอง
                   โดยให้เจือจาง 1:300 ราดลงดิน ต้นละ 20 ลิตร ในช่วงบ ารุงต้น ทุกเดือน สูตรปลาและหอยเชอรี่ผสม

                   แคลเซียมโบรอน ใช้เศษปลา จ านวน 30 กิโลกรัม ล าไยสุก จ านวน 10 กิโลกรัม น้ า จ านวน 10 ลิตร
                   กากน้ าตาล จ านวน 10 กิโลกรัม สารเร่งซุปเปอร์ พด. 2 จ านวน 1 ซอง โดยให้เจือจาง 1:500 ผสมโบรอน
                   แคลเซียม 500 มิลลิลิตร ฉีดพ่นในช่วงดอกตูม ทุก 15 วัน สูตรขั้วเหนียว ใช้ฝรั่งสุกหรือผลไม้สุกสีเหลือง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16