Page 60 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       43







                       หลังปลูก 20-25 วัน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ใช้แรงงานคนเป็นหลัก
                       ในการเก็บเกี่ยว ผลผลิต 700 - 800 กิโลกรัมต่อไร่
                                  4) อ้อยโรงงาน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยโรงงาน พันธุ์ขอนแก่น นิยมปลูก 2 ช่วง คือ
                       อ้อยโรงงานต้นฝน ปลูกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และอ้อยโรงงานปลายฝนประมาณ

                       กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม มีวิธีการปลูกแบบยกร่องปลูกให้มีระยะปลูก1 × 1 เมตร ถ้าปลูก
                       ปลายฤดูฝนเมื่อยกร่องแล้ว ต้องปลูกทันทีเพื่อรักษาความชื้น การใส่ปุ๋ยและดูแลรักษาส่วนใหญ่นิยม
                       ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก หรือพร้อมปลูกประมาณ 60-80 กิโลกรัมต่อไร่ หรือใช้
                       ปุ๋ยเคมีรองพื้น สูตร 16-20-0 21-0-0 และ 0-0-60 อัตรา 30-60 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับลักษณะของ

                       เนื้อดิน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าอ้อยโรงงาน อายุไม่เกิน 3-4 เดือนใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 21-0-0
                       และ 0-0-60 อัตรา 60-80 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อดินเช่นกัน มีการก้าจัดวัชพืชโดย
                       ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน หรือใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลัง
                       ปลูกเมื่อมีวัชพืชงอก มีอายุการเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน อ้อยโรงงานต้นฝนจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือน

                       กุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ผลผลิตเฉลี่ยที่ 14,000 กิโลกรัมต่อไร่ และอ้อยโรงงานปลายฝนเก็บเกี่ยว
                       ประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน นิยมใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว และมีผลผลิต
                       เฉลี่ย 13,000 กิโลกรัมต่อไร่

                              2.9.2 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรชลประทาน สามารถคัดเลือกประเภท
                       การใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้
                                  1) ข้าวนาปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวนาปีพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีวิธีการปลูกแบบ
                       นาหว่านเป็นส่วนใหญ่ มีการเตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร คราดเพื่อท้าเทือกและเริ่มปลูกตั้งแต่เดือน
                       มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม การจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร สูตร 46-0-0 อัตรา

                       20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ก่อนข้าวออกรวง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับ
                       ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม
                       ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลผลิต 350 - 500 กิโลกรัมต่อไร่

                                  2) ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง เกษตรกรนิยมปลูกข้าวนาปีใช้พันธุ์ กข6  กข10
                       มีวิธีการปลูกแบบนาหว่านเป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรเริ่มปลูกในเดือนมิถุนายน มีการจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง
                       ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวงใช้ปุ๋ยเคมีสูตร
                       15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม โดยใช้แรงงานคน

                       เป็นหลัก ผลผลิต 350 - 500 กิโลกรัมต่อไร่
                                    หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จ เกษตรกรจะท้าการไถเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวนาปรัง
                       นิยมปลูกพันธุ์สันป่าตอง 1 การปลูกเป็นแบบนาหว่าน มีการเตรียมดินโดยไถดะ ไถแปร คราดเพื่อท้า
                       เทือกในเดือนธันวาคม จากนั้นจะหว่านเมล็ดใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ มีการจัดการโดยใส่

                       ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวง
                       ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือเกษตรกรบางรายใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา
                       20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่ เก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคมใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลผลิต 300 - 450
                       กิโลกรัมต่อไร่
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65