Page 108 - การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและคุณภาพที่ดินสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลำเชิงไกร
P. 108

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       86







                       4.4  การวิเคราะห์ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                              จากการส้ารวจประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งในเขตพื้นที่น้้าฝน และเขตพื้นที่ชลประทาน
                       นั้น เกษตรกรในเขตพื้นที่น้้าฝนนิยมปลูก ข้าวนาปี โดยใช้พันธุ์หอมมะลิ 105 เมื่อเกิดการ
                       เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่าผลผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรลดลง จากที่เคยได้ผลผลิต 500

                       กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตลดลงเหลือ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ และบางพื้นที่ไม่สามารถให้ผลผลิตได้เลย
                       เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้้าล้าเชิงไกรเป็นพื้นที่ดินเค็ม ถึงแม้ข้าวหอมมะลิจะเจริญเติบโตได้ใน
                       สภาพดินเค็ม แต่เมื่อมีปริมาณเกลือมากเกินไปจากสาเหตุของภาวะสภาพภูมิอากาศ ในเดือน
                       มิถุนายน ถึงสิงหาคม ปริมาณฝนที่ตกไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อความต้องการน้้าของพืชท้าให้พืชไม่

                       สามารถเจริญเติบโตเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้้าจะนิยมปลูกพืชตามหลังนา เพื่อช่วยสร้างรายได้ซึ่งหาก
                       พื้นที่ไหนมีน้้าเพียงพอ
                              ส้าหรับพืชไร่อื่นๆ ในเขตน้้าฝนเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยโรงงาน และมันส้าปะหลัง ส้าหรับอ้อย

                       โรงงานจะนิยมปลูกพันธุ์ขอนแก่นปลูกช่วงปลายฝน และต้นฝน ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่ดินเป็นทราย
                       ท้าให้การใช้ปุ๋ย และการดูแลรักษาต้องลงทุนสูงขึ้น ด้านแรงงานก็ไม่เพียงพอท้าให้บางพื้นที่
                       จ้าเป็นต้องเผาไร่อ้อยเพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ส้าหรับมันส้าปะหลัง นิยมปลุกพันธุ์เกษตรศาสตร์
                       เกษตรกรปลูกในพื้นที่ดินทรายจัดและดินตื้น การดูแลรักษาจ้าเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มาก แต่การ
                       เก็บเกี่ยวเกษตรกรใช้รถไถช่วยในการขุด แต่ก็มีการใช้แรงงานบางส่วนเพื่อสับหัวมันส้าปะหลัง และขนย้าย

                       ไปขายในแหล่งรับซื้อใกล้เคียง ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นิยมปลูกพันธุ์ลูกผสมไฮบริด ปลูกในพื้น
                       ที่ดินดอน มีลักษณะดินร่วนละเอียด เนื่องจากช่วงเดือนที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือนธันวาคมและ
                       มกราคม เป็นช่วงที่ฝนตกน้อยมาก จ้าเป็นต้องใช้น้้าบาดาลหรือน้้าจากแหล่งน้้าธรรมชาติเข้าช่วย

                              นอกจากนี้ยังมีประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ ที่เกษตรกรหันมาปลูกทดแทนพืชหลังนา
                       ที่ใช้ปริมาณน้้าน้อย คือ มันส้าปะหลัง ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาเพียง 5 เดือน โดยเริ่มปลูกปลายเดือน
                       ธันวาคม เก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม สาเหตุที่เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดนี้เนื่องจากเป็นพืชชนิดนี้ทน
                       สภาพแห้งแล้งได้ และใช้ปริมาณน้้าน้อย การดูแลรักษาง่าย แต่ผลผลิตที่ได้จะมีผลกระทบในเรื่องของ

                       เปอร์เซ็นต์แป้งของมันส้าปะหลังไม่ตรงเกณฑ์มาตรฐาน จึงท้าให้ราคามันส้าปะหลังลดลงจากราคา
                       ท้องตลาดโดยทั่วไป แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นดินดอน และดินไร่ในลุ่มน้้าล้าเชิงไกรก็มีเนื้อที่ปลูกมัน
                       ส้าปะหลังเป็นหลัก นั้นก็ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ ท้าให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงเช่นกัน
                              ส้าหรับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ชลประทาน เนื่องจากเนื้อที่การส่งน้้าของ

                       พื้นที่ชลประทานขนาดกลางมีเนื้อที่ 25,477 ไร่ การส่งน้้าได้รับผลกระทบเช่นกันเนื่องจากปริมาณน้้า
                       ชลประทาน ในพื้นที่โครงการไม่เพียงพอ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ มีการเจาะน้้าบาดาลมาใช้เพื่อท้า
                       การเกษตรหลังฤดูท้านาและบางพื้นที่ที่อยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้้าและแม่น้้าล้าธารก็สามารถสูบน้้ามาใช้
                       เพิ่มเติมในช่วงที่มีการท้านาปรัง และปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การท้านาปรังเกษตรกรนิยมใช้พันธุ์สันป่าตอง

                       ปลูกในพื้นที่ดินลุ่มไม่มีข้อจ้ากัดด้านคุณสมบัติดิน ส้าหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์
                       ลูกผสมไฮบริด ปลูกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ข้อจ้ากัดของการปลูกข้าวโพดหลังนาก็คือ
                       เรื่องของปริมาณน้้า
                              ปัญหาที่เกษตรกรพบในพื้นที่ส่วนใหญ่คือในเขตพื้นที่น้้าฝน เนื่องจากปริมาณน้้าฝนไม่

                       เพียงพอจึงท้าให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ เช่น เกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่ดินที่เสี่ยงต่อการ
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113