Page 50 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           38




                                                            บทที่ 4

                                                         ข้อมูลทั่วไป


                  1. ที่ตั้งและอาณาเขต

                        ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า เป็นลุ่มน้ําสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ํายม อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่

                  18º 3́́́′0″ ถึง 18º 24′0″ เหนือ และเส้นแวงที่ 99º 48′0″ ถึง 100º 9′0″ ตะวันออก อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง
                  ประมาณ 122 ถึง 1,075 เมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 515.98 ตารางกิโลเมตรหรือ 322,488 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                  2.15 ของพื้นที่ลุ่มน้ํายม (สํานักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา, 2552) ครอบคลุมพื้นที่อําเภอเมืองแพร่ อําเภอลอง
                  อําเภอสอง อําเภอสูงเม่น และอําเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ โดยลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้ามีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่

                  ใกล้เคียง ดังนี้ (ภาพที่ 5)

                             ทิศเหนือ          ติดต่อกับ อําเภอสอง จังหวัดแพร่ และอําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง

                             ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ อําเภอหนองม่วงไข่ และอําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

                             ทิศใต้            ติดต่อกับ อําเภอสูงเม่น และอําเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

                             ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ อําเภอลอง จังหวัดแพร่ และอําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง

                  2. สภาพภูมิอากาศและสมดุลน้ํา

                        2.1 สภาพภูมิอากาศ

                           ลักษณะภูมิอากาศเฉลี่ยของสถานีอุตุนิยมวิทยาแพร่ (ตารางที่ 3) พบว่า ปริมาณน้ําฝนทั้งหมด
                  อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และศักย์การคายระเหยน้ําเฉลี่ยรายเดือน ในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2531-2560)
                  มีลักษณะดังนี้ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2560) มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.5 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุด
                  ในเดือนเมษายนเท่ากับ 37.6 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ําสุดในเดือนมกราคมเท่ากับ 16.2 องศาเซลเซียส

                  ปริมาณน้ําฝนรวมตลอดปี 1,162.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ําฝนโดยเฉลี่ย 96.9 มิลลิเมตรต่อเดือน โดยมี
                  ปริมาณน้ําฝนสูงสุดเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมเท่ากับ 221.4 มิลลิเมตร ปริมาณน้ําฝนต่ําสุดเฉลี่ยในเดือน
                  ธันวาคมเท่ากับ 11.0 มิลลิเมตร ส่วนความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 76 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์

                  สูงสุดในเดือนกันยายนเท่ากับ 85 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นสัมพัทธ์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ําสุดในเดือนมีนาคม
                  เท่ากับ 63 เปอร์เซ็นต์

                        2.2 สมดุลน้ํา

                           จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ําฝนทั้งหมดกับค่าศักย์การคายระเหยน้ําในแต่ละ
                  เดือน เพื่อหาช่วงที่มีการขาดน้ํา ช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ และช่วงที่มีน้ํามากเกินพอ ในพื้นที่เพาะปลูกที่อาศัย
                  น้ําฝน พบว่า ช่วงที่มีความชื้นเพียงพอเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่

                  เหมาะสมในการปลูกพืชในฤดูเพาะปลูกมากที่สุด แต่เนื่องจากในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมจนถึงต้นเดือนตุลาคม
                  จะเป็นช่วงที่มีน้ํามากเกินพอ ซึ่งอาจทําความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้ ส่วนช่วงที่มีการขาดน้ําจะเริ่มตั้งแต่ช่วง
                  ปลายเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนเมษายน ซึ่งหากมีการเพาะปลูกพืชในช่วงนี้ ต้องอาศัยน้ําจากชลประทาน
                  หรือควรมีแหล่งน้ําสํารอง (ภาพที่ 6)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55