Page 45 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           33




                        2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทําแผนที่ดิน

                             2.4.1 การรวบรวมและนําเข้าข้อมูลในภาคสนาม

                                เป็นการรวบรวมแบบบันทึกข้อมูล และนําเข้าข้อมูลจากหลุมเจาะดิน ให้อยู่ในระบบ
                  สารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งจากการบันทึกค่าพิกัดหลุมเจาะดินในภาคสนามด้วยเครื่อง GPS หรืออ่านค่าพิกัด
                  จากแผนที่ สามารถนํามาสร้างชั้นข้อมูล GIS ด้วยโปรแกรม ArcGIS และจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลดิน

                             2.4.2 การกําหนดและสรุปหน่วยแผนที่

                                ถ่ายทอดขอบเขตดินและหน่วยแผนที่ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสํารวจในภาคสนาม

                  ด้วยโปรแกรม GIS ลงบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อจัดทําเป็นแผนที่ดินต้นฉบับ และคํานวณเนื้อที่แต่ละหน่วย
                  แผนที่ที่พบในพื้นที่ศึกษา

                        2.5 การศึกษาสมบัติของดินและประเมินศักยภาพทรัพยากรดิน

                           รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เคมี และแร่วิทยา รวมถึงสภาพแวดล้อม
                  บางประการที่แสดงถึงข้อจํากัดในด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากนั้นทําการ
                  ประเมินความอุดมสมบูรณ์ และจําแนกความเหมาะสมของดิน ดังนี้

                             2.5.1 การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                ณรงค์ (2544) ให้ความหมายของคําว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นั้นหมายถึง ความสามารถ
                  ของดินที่จะให้แร่ธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้
                  ซึ่งสมบัติทางเคมีบางประการของดินที่นํามาใช้พิจารณา ได้แก่ อินทรียวัตถุในดิน (organic matter) ชนิดของ
                  แร่ดินเหนียว (clay mineral) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity) ปฏิกิริยาดิน

                  (soil reaction) ธาตุไนโตรเจน (nitrogen) ธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available
                  phosphorus and potassium) และการอิ่มตัวเบส (base saturation) โดยสมบัติเหล่านี้บอกให้ทราบถึง
                  ระดับธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน และช่วยให้สามารถประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินได้

                                ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินจากผลวิเคราะห์ดิน จะต้องทราบค่าตัวเลขจาก
                  ตารางผลวิเคราะห์แต่ละค่านั้นมีค่าสูง ปานกลาง หรือต่ํา จึงจะสามารถประเมินได้ว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์

                  เป็นอย่างไร หลักการในการแบ่งระดับความสูงต่ําของผลวิเคราะห์ดินเหล่านี้ ได้จากการศึกษาความต้องการ
                  ธาตุอาหารของพืชที่ปลูกกันทั่วไป แล้วนํามาสรุปเป็นค่าเฉลี่ยสําหรับพืช ดังแสดงไว้ในตารางที่ 2

                                วิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้วิธีการให้คะแนน และจัดระดับจากคะแนนที่ได้
                  จากตารางผลวิเคราะห์ แล้วนําคะแนนทั้งหมดมารวมกันได้เป็นคะแนนรวม ถ้ามีคะแนนรวม 7 หรือน้อยกว่า
                  ถือว่ามีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ถ้ามีคะแนนรวมระหว่าง 8 – 12 ถือว่ามีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

                  และถ้ามีคะแนนรวม 13 หรือมากกว่า ถือว่ามีระดับความอุดมสมบูรณ์สูง ซึ่งการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของ
                  ดินที่ทําการศึกษาครั้งนี้ ใช้ผลวิเคราะห์ที่ได้มาคํานวณหาที่ระดับความลึก 0 – 25, 25 – 50 และ 50 – 100
                  เซนติเมตร โดยการเฉลี่ยตามความลึกจากผลวิเคราะห์ที่ได้
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50