Page 46 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           34




                  ตารางที่ 2 การแบ่งระดับสูง ปานกลาง หรือต่ําของผลวิเคราะห์ดินที่ใช้ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                                             ความจุแลกเปลี่ยน   ฟอสฟอรัส        โพแทสเซียม
                               อินทรียวัตถุ   ความอิ่มตัวเบส
                    ระดับ                                      แคตไอออน       ที่เป็นประโยชน์   ที่เป็นประโยชน์
                             (กรัมต่อกิโลกรัม)   (เปอร์เซ็นต์)
                                                            (เซนติโมลต่อกิโลกรัม)  (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
                     ต่ํา        < 15            < 35             < 10            < 10            < 60

                   ปานกลาง      15 - 35         35 - 75          10 - 20         10 - 25         60 - 90

                     สูง         > 35            > 75             > 20            > 25            > 90


                  ที่มา: ณรงค์ (2544)
                             2.5.2 การจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ


                                กองสํารวจและจําแนกดิน (2543) ให้ความหมายของการจําแนกความเหมาะสมของดินไว้ว่า
                  เป็นการจัดหมวดหมู่ของดิน โดยอาศัยลักษณะและสมบัติทางกายภาพ เคมี ตลอดจนสภาพแวดล้อมของดิน
                  บางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโต หรือมีผลกระทบต่อผลผลิตพืช โดยจําแนกดินออกเป็นหมวดหมู่อย่าง
                  มีระบบและจดจําได้ง่าย อีกทั้งแปลข้อมูลดินเป็นภาษาง่ายๆ ว่าพื้นที่นั้นมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
                  มากหรือน้อยเพียงใด มีข้อจํากัดอะไรบ้าง และมีความรุนแรงอยู่ในระดับใด เพื่อจะนําไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น

                  ในการแก้ปัญหาของข้อจํากัดเหล่านั้น ซึ่งหากสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย
                  ในการลงทุน และได้ผลผลิตตอบแทนในอัตราที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

                                การจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับพืชเศรษฐกิจ แบ่งชั้นความเหมาะสมของดิน
                  ออกเป็น 5 ชั้น (class) โดยแต่ละชั้นไม่ได้หมายความว่ามีการจัดการหรือมีการดูแลรักษาที่เหมือนกันเสมอไป

                  ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะมีข้อจํากัดปลีกย่อยลงไปอีกหรือที่เรียกว่า ชั้นความเหมาะสมของดินย่อย
                  (subclass) โดยแบ่งชั้นความเหมาะสมเป็น 5 ชั้น ประกอบด้วย

                                   ชั้นความเหมาะสมที่ 1 เป็นชั้นที่มีความเหมาะสมดีมาก (soil very well suited)

                                   ชั้นความเหมาะสมที่ 2 เป็นชั้นที่มีความเหมาะสมดี (soil well suited)

                                   ชั้นความเหมาะสมที่ 3 เป็นชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (soil moderately suited)

                                   ชั้นความเหมาะสมที่ 4 เป็นชั้นที่ไม่ค่อยเหมาะสม (soil poorly suited)

                                   ชั้นความเหมาะสมที่ 5 เป็นชั้นที่ไม่เหมาะสม (soil unsuited)

                                ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้น ยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1 จะระบุลักษณะและ
                  คุณสมบัติของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชที่ปลูก ลักษณะของดินที่ระบุไว้ใน
                  ชั้นความเหมาะสมของดินสําหรับปลูกพืชแต่ละชั้น เรียกว่า ข้อจํากัด (limitation) ซึ่งเมื่อทราบว่าชุดดินนั้นมี

                  ลักษณะใดที่เป็นข้อจํากัดที่รุนแรงที่สุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืช
                  ก็จะตกอยู่ในชั้นความเหมาะสมนั้น และเมื่อทราบชั้นความเหมาะสมของดินสําหรับการปลูกพืชแล้ว ทําการ
                  จําแนกชั้นความเหมาะสมย่อยลงไปอีกหรือที่เราเรียกว่าชั้นความเหมาะสมของดินย่อย (subclass) โดยระบุ
                  ชนิดของข้อจํากัดตัวที่รุนแรงที่สุดไว้ท้ายชั้นความเหมาะสมของชั้นดินหลัก (class) ชนิดของข้อจํากัดหรือ

                  ลักษณะของดินที่เป็นอันตราย หรือทําความเสียหายกับพืช ได้แก่
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51