Page 53 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 53

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           41







                              ปริมาณน้ําฝนทั้งหมด (มม.)  ศักย์การคายระเหยน้ํา (มม.)  1/2ศักย์การคายระเหยน้ํา (มม.)

                         240

                         200

                         160
                        มิลลิเมตร  120



                          80


                          40

                           0                                                                          เดือน
                                   มกราคม  กุมภาพันธ์  มีนาคม  เมษายน  พฤษภาคม  มิถุนายน  กรกฎาคม  สิงหาคม  กันยายน  ตุลาคม  พฤศจิกายน  ธันวาคม





                                                                ช่วงน้ํามากเกินพอ

                                       ช่วงขาดน้ํา                  ช่วงความชื้นเพียงพอ (ฤดูเพาะปลูก)   ช่วงขาดน้ํา




                  ภาพที่ 6 สภาพสมดุลน้ําในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2531 - 2560) บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า

                  3. สภาพภูมิประเทศ

                        สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า มีลักษณะเป็นภูเขา และเทือกเขาสูง มีความลาดเทมาตาม
                  แนวเหนือถึงใต้ มีพื้นที่ราบในหุบเขาอยู่ตอนกลางเป็นช่วงแคบๆ บริเวณใกล้ลําห้วยแม่ต้า แล้วขยายพื้นที่ราบออกใน

                  ตอนปลายของลุ่มน้ําสาขา มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ระหว่าง 128 - 1,040 เมตร โดยจุดสูงสุดของ
                  ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าอยู่ทางทิศตะวันออก

                  4. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน

                        4.1 ธรณีวิทยาทั่วไป

                           จากข้อมูลธรณีวิทยาจังหวัดแพร่ (สํานักธรณีวิทยา, 2555) พบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาในลุ่มน้ํา
                  สาขาน้ําแม่ต้า ประกอบด้วย ตะกอน หินตะกอน หินแปร และหินอัคนีชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่
                  โดยลําดับชั้นหินต่างๆ เรียงจากหินอายุอ่อนไปยังหินที่มีอายุแก่กว่า ได้ดังนี้ (ภาพที่ 7)


                             4.1.1 ตะกอนยุคควอเทอร์นารี (Q) สามารถแบ่งตะกอนควอเทอร์นารีได้ 2 หน่วย ดังนี้
                                   1) ตะกอนทราย และดินเคลย์น้ําพา (Qa) ลักษณะเป็นตะกอนธารน้ําพา กรวด ทราย

                  ทรายแป้ง และดินเหนียว สะสมตัวตามร่องน้ําคันดินแม่น้ํา และแอ่งน้ําท่วมถึง
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58