Page 55 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           43




                                   2) ตะกอนตะพักระดับสูง (Qt) ลักษณะเป็นตะกอนตะพักลําน้ํา กรวด ทราย ทรายแป้ง
                  ดินเหนียว และศิลาแลง

                             4.1.2 หินยุคจูแรสซิก (Jk) ประกอบด้วย หินโคลน หินปูนเนื้อดินแทรกสลับด้วยหินดินดานบ้าง
                  และหินทรายแป้ง มีซากดึกดําบรรพ์พวกน้ํากร่อยมาก

                             4.1.3 หินยุคไทรแอสซิก (Tr) กระจายตัวบริเวณภาคเหนือในกลุ่มหินลําปาง ได้แก่ หมวดหิน

                  ผาก้าน (Trpk) ประกอบด้วย หินปูนสีเทาเข้มแสดงชั้นปานกลางถึงชั้นมวลหนาหรือเป็นปื้น มีหินทราย และ
                  หินโคลนแทรกเล็กน้อยในตอนกลางของลําดับชั้นหิน หมวดหินผาแดง (Trpd) ประกอบด้วย หินทราย
                  หินทรายแป้ง หินโคลน และหินกรวดมนสีแดง หมวดหินก้างปลา (Trkp) ประกอบด้วย หินปูนสีเทาแสดง
                  ชั้นบางถึงชั้นมวลหนาหรือเป็นปื้น หมวดหินวังชิ้น (Trwc) ประกอบด้วย หินโคลนสีเทาเข้มแทรกสลับด้วยทราย
                  แสดงชั้นบางถึงหนา


                             4.1.4 หินยุคเพอร์เมียน (P) กระจายตัวบริเวณภาคเหนือในกลุ่มหินงาว พื้นที่ลุ่มน้ําแม่ต้าจะพบ
                  หมวดหินห้วยทาก (Png3) เป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย หินดินดาน หินโคลนสีเทาดํา หินทราย และหินปูน

                             4.1.5 หินอัคนีแทรกซอนยุคไทรแอสซิก (Trgr) มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ลักษณะเป็นหินไบโอไทต์แกรนิต
                  ทัวมารีนแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ ไบโอไทต์มัสโคไวต์แกรนิต มัสโคไวต์ทัวมารีนแกรนิต หินไบโอไทต์ทัวมารีนแกรนิต
                  หินแกรนิตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการกําเนิดแร่เศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แร่ดีบุก วุลแฟรมฟลูออไรด์

                  และแบไรต์ เป็นต้น

                             4.1.6 หินอัคนีภูเขาไฟยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (PTrv) ประกอบด้วย หินไรโอไลต์ แอนดีไซต์
                  หินทัฟฟ์แสดงการไหล หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ หินไรโอลิติกทัฟฟ์ และหินแอนดิซิติกทัฟฟ์

                        4.2 ธรณีสันฐาน

                           ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า สามารถแบ่งตามธรณีสัณฐาน และวัตถุต้นกําเนิด ได้ดังนี้

                             4.2.1 บริเวณที่ราบน้ําท่วมถึง (floodplain) เป็นที่ราบ ซึ่งขนานไปกับลําน้ําแม่ต้า สามารถแบ่ง
                  ออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

                                1) บริเวณสันดินริมน้ํา (river levees) มีลักษณะเป็นสันดินหรือเนิน ซึ่งมักจะพบเกิดขึ้นเป็น
                  แนวแคบๆ ขนานไปกับลําน้ําสาขา และอาจพบในบริเวณที่เป็นลําน้ําเก่าที่แม่น้ําได้เปลี่ยนทิศทางน้ําไหลไปแล้ว

                  ดินที่เกิดในบริเวณนี้เป็นดินที่เกิดตะกอนลําน้ําพัดพามาทับถมกันทุกปีหรือแทบทุกปี

                                2) บริเวณที่ราบลุ่มหรือที่แอ่งน้ํา (river basin) เป็นบริเวณที่ราบลุ่มที่อยู่ต่ําถัดลงมาจาก
                  บริเวณสันดินริมน้ํา เป็นที่ราบต่ําเป็นแนวแคบๆ ใกล้กับลําน้ําแม่ต้า มีบริเวณพื้นที่ไม่มาก บริเวณเหล่านี้
                  น้ําจะท่วมและตะกอนมาทับถมทุกๆ ปี หรือเกือบทุกปี

                             4.2.2 บริเวณที่เป็นลานตะพักลําน้ําค่อนข้างใหม่ (semirecent terraces) เป็นที่ราบที่อยู่ถัดจาก
                  ที่ราบน้ําท่วมถึง และมีระดับสูงกว่าเล็กน้อย เกิดขึ้นจากตะกอนของแม่น้ําพัดพามาทับถม ซึ่งมีอายุค่อนข้างเก่ากว่า

                  บริเวณที่ราบน้ําท่วมถึง มีลักษณะเป็นลานตะพัก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนระดับของแม่น้ํา

                             4.2.3 บริเวณที่เป็นลานตะพักลําน้ําเก่า (old terraces) เป็นบริเวณที่อยู่สูงขึ้นไปกว่าบริเวณ
                  ตะพักลําน้ําค่อนข้างใหม่ เกิดขึ้นจากการทับถมของตะกอนลําน้ําเช่นเดียวกันแต่เกิดขึ้นก่อน และมีอายุ
                  ทางธรณีสัณฐานมากกว่า
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60