Page 44 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           32




                             2.3.5 การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ เคมี และองค์ประกอบเชิงแร่ของดินในห้องปฏิบัติการ มีดังนี้

                                   1) ความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density) โดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่างดินโดย
                  ไม่ทําลายโครงสร้าง (Blake and Hartge, 1986; Culley, 1993)

                                   2) การกระจายของอนุภาคดิน (soil particle size distribution) โดยวิธีปิเปตต์
                  (Kilmer and Alexander, 1949; Day, 1965) ผลที่ได้จากการวิเคราะห์นํามาแจกแจงประเภทของดิน

                  (soil textural class) โดยการเปรียบเทียบกับชั้นเนื้อดิน ตามเกณฑ์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
                  (Soil Survey Division Staff, 2017)

                                   3) ปฏิกิริยาของดิน (pH) วัดโดยใช้ pH meter อัตราส่วนระหว่างดินต่อน้ํา และดินต่อ
                  สารละลาย 1 M KCl เท่ากับ 1:1 (National Soil Survey Center, 1996)

                                   4) อินทรียวัตถุ (organic matter) โดยวิธี Walkley and Black Titration (Walkley and
                  Black, 1934)

                                   5) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) ทําการสกัดดินโดยวิธี Bray II

                  (Bray and Kurtz, 1945) และวัดปริมาณโดยวิธี molybdate ascorbic acid (Kuo, 1996)

                                   6) โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium) โดยสกัดด้วยสารละลาย 1 N
                  NH4OAc pH 7.0 (Pratt, 1965) และวัดปริมาณโดยใช้ atomic absorption spectrophotometer

                                   7) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity) โดยการซึมชะแคตไอออน
                  ด้วยสารละลาย 1 N NH4OAc pH 7.0 และแทนที่แอมโมเนียมไอออนด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (10%)
                  ในสภาพเป็นกรด กลั่นหาแอมโมเนียมไอออน แล้วคํานวณค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดิน

                  (Chapman, 1965)

                                   8) ความเป็นกรดที่สกัดได้ (extractable acidity) โดยวิธี barium chloride-
                  triethanolamine pH 8.2 (Peech, 1945)

                                   9) อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (base saturation percentage) โดยการคํานวณจาก
                  ปริมาณเบสที่แลกเปลี่ยนได้ หารด้วยผลรวมของเบสที่แลกเปลี่ยนได้กับกรดที่สกัดได้ (National Soil Survey
                  Center, 1996) จากสูตร


                     อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส    =                  ปริมาณเบสที่แลกเปลี่ยนได้            x 100    สมการที่ 2
                                                      ผลรวมของเบสที่แลกเปลี่ยนได้กับกรดที่สกัดได้

                                   10) วิเคราะห์ชนิดและปริมาณของแร่ในกลุ่มอนุภาคดินเหนียว (clay minerals) ที่มีขนาด

                  เล็กกว่า 2 ไมโครเมตร โดยวิธีเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction analysis; XRD) และประเมินหาปริมาณ
                  ของแร่ชนิดต่างๆ โดยวิธี relative peak height และ peak area (Jackson, 1965)

                                   11) วิเคราะห์ชนิดและปริมาณของแร่ในกลุ่มอนุภาคทรายแป้ง (silt fraction) ขนาด 2 ถึง
                  50 ไมโครเมตร โดยวิธีเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ นําผลที่ได้เปรียบเทียบกับชนิดของแร่มาตรฐาน (Brindley and
                  Brown, 1980) สําหรับปริมาณของแร่ชนิดต่างๆ ประเมินโดยวิธี relative peak height และ peak area

                  (Jackson, 1965)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49