Page 43 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           31




                             2.3.3 ศึกษาหน้าตัดดิน (soil profile)

                                ดําเนินการศึกษาหน้าตัดดินที่เป็นตัวแทนของชุดดินหรือดินคล้ายที่สํารวจพบ โดยทําการ
                  ขุดหลุมดินขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร และลึก 2 เมตร แบ่งชั้นดินตามการกําเนิดดิน (genetic horizon)
                  ศึกษาสมบัติของดินในแต่ละชั้น พร้อมกับทําคําบรรยายหน้าตัดดินตามวิธีการศึกษาสัณฐานวิทยาของดินใน
                  ภาคสนาม (เอิบ, 2548) ตลอดจนบันทึกข้อมูลภูมิประเทศ สภาพทางธรณีวิทยา และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับ

                  การกําเนิดดิน จากนั้นเก็บตัวอย่างดินเพื่อทําการวิเคราะห์ โดยแยกวิธีการเก็บออกเป็น 2 วิธี คือ ตัวอย่างดิน
                  ที่ถูกรบกวน (disturbed soil samples) เพื่อนําไปศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมี ส่วนตัวอย่างดินที่ไม่ถูก
                  รบกวน (undisturbed soil samples) เลือกเก็บเฉพาะชั้นที่ต้องการนํามาศึกษาข้อมูลบางส่วนของสมบัติทาง

                  กายภาพ โดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่าง (core) (เอิบ, 2552; Buol et al., 2011) เพื่อเป็นฐานข้อมูลของ
                  หน่วยแผนที่ดิน (ภาพที่ 4)

                             2.3.4 การตรวจสอบขั้นสุดท้าย (final review)

                                เป็นการตรวจสอบก่อนที่งานสํารวจดินในสนามจะสิ้นสุดลง ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐาน
                  ของแผนที่ดินครั้งสุดท้าย เพื่อปรับปรุง ตรวจสอบความถูกต้อง แก้ไขหน่วยแผนที่ และขอบเขตของดิน
                  (soil boundary) ทั้งในแนวศึกษาดินตัวแทน และพื้นที่ขยายผล รวมทั้งเป็นการประเมินความถูกต้อง และ

                  ความน่าเชื่อถือ (validation) ของแผนที่ดินด้วย






































                  ภาพที่ 4 การศึกษาหน้าตัดดินและเก็บตัวอย่างดินในภาคสนาม
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48