Page 173 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 173

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          139




                  และ Ty-glE มีข้อจํากัดประเภทเนื้อดินและมีความลาดชันมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ (3st) ได้แก่ หน่วยแผนที่
                  Cg-low,f-cD, Ws-clD, Ws-clE, Ws-clG, Ws-br-clD และ Ws-vd-clF

                             จากการจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ประโยชน์ด้านปฐพีกลศาสตร์บริเวณลุ่มน้ําสาขา
                  น้ําแม่ต้า พบว่า หน่วยแผนที่กลุ่มที่มีการระบายน้ําค่อนข้างเลว ได้แก่ Don-gm,ant-silA และ Skt-siclA
                  มีระดับความเหมาะสมในกิจกรรมต่างๆ เหมือนกัน คือ เหมาะสมดีสําหรับใช้เป็นบ่อขุด และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก

                  แต่ไม่เหมาะสมสําหรับการใช้เป็นบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะ
                  ในฤดูฝน

                             เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของดินในกลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลําน้ําเก่าที่มีการ
                  ระบายน้ําดีปานกลาง ซึ่งได้แก่ Don-silA, Don-silB, Don-ant-silA, Don-ant-silB, Pae-lB และ Pae-ant-lB
                  พบว่า มีระดับความเหมาะสมในกิจกรรมต่างๆ คล้ายกัน คือ เหมาะสมดีสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แต่ไม่เหมาะสม

                  อย่างยิ่งสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด

                             ส่วนดินในกลุ่มที่เกิดจากพื้นที่ผิวที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อน และกลุ่มที่เกิดจากการกัดกร่อน
                  ของภูเขาที่เป็นหินภูเขาไฟ ระดับความเหมาะสมของดินนั้นจะมีความแปรปรวน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อดิน
                  ระบบการจําแนกดิน Unified และ AASHO รวมทั้งความลาดชันของพื้นที่ ทําให้ระดับความเหมาะสมของดิน

                  ทางด้านปฐพีกลศาสตร์ในกลุ่มดินดังกล่าวนั้นแตกต่างกัน
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178