Page 177 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 177

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          143




                  ดินอื่นๆ และเมื่อพิจารณากลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง จะเห็นได้ว่ามีแร่ควอตซ์เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลัก
                  ทุกพีดอน เนื่องจากแร่ควอตซ์นั้นมีความคงทนต่อการสลายตัวทั้งทางกายภาพและเคมี (อัญชลี, 2534)

                        เมื่อนําสมบัติดินทางเคมีมาประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า พบว่า
                  ส่วนใหญ่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจําแนกความเหมาะสมของดิน และจัดทํา
                  พื้นที่ศักยภาพ (potential area) บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า สําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจทั้ง 10 ชนิด จะเห็นได้ว่า

                  มีพื้นที่ศักยภาพในการเพาะปลูกพืชโดยไม่มีข้อจํากัดรวม 87,670 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.19 ของพื้นที่ทั้งหมด
                  ส่วนพื้นที่มีศักยภาพแต่ยังมีข้อจํากัดในการใช้ที่ดิน มีพื้นที่รวม 231,275 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 71.71 ของพื้นที่ทั้งหมด

                        ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ประโยชน์ด้านปฐพีกลศาสตร์บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า แสดงให้เห็นว่า
                  ดินในกลุ่มที่มีการระบายน้ําค่อนข้างเลว ได้แก่ Don-gm,ant-silA และ Skt-siclA นั้นเหมาะสมดีสําหรับใช้เป็นบ่อขุด
                  และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก แต่ไม่เหมาะสมสําหรับการใช้เป็นบ่อเกรอะ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อาคารต่ําๆ

                  และการใช้ยานพาหนะในฤดูฝน ในกลุ่มของดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลําน้ําเก่าที่มีการระบายน้ําดี
                  ปานกลาง ได้แก่ Don-silA, Don-silB, Don-ant-silA, Don-ant-silB, Pae-lB และ Pae-ant-lB มีเหมาะสม
                  ดีสําหรับใช้เป็นแหล่งหน้าดิน แต่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด ส่วนกลุ่มที่เกิดจาก

                  พื้นที่ผิวที่เหลือตกค้างจากการกัดกร่อนและกลุ่มที่เกิดจากการกัดกร่อนของภูเขาที่เป็นหินภูเขาไฟ ระดับความ
                  เหมาะสมของดินนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อดิน ระบบการจําแนกดิน Unified และ AASHO รวมทั้งความ
                  ลาดชันของพื้นที่ ทําให้ระดับความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ในกลุ่มดินดังกล่าวแตกต่างกัน
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182