Page 174 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 174

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          140




                                                            บทที่ 7

                                                   ปัญหาและข้อเสนอแนะ


                  1. ปัญหาและอุปสรรค

                        1.1 พื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติ มีความลาดชันสูง และไม่มีเส้นทาง

                  คมนาคมที่สะดวก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้พาหนะในการเดินทางและยากต่อการสํารวจดิน

                        1.2 ข้อมูลพื้นฐานที่จําเป็นในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ ยังมีข้อจํากัดเรื่องความละเอียดและความถูกต้อง
                  โดยข้อมูล DEM ที่นํามาใช้ในการศึกษานั้น มีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 2 เมตร บริเวณที่มีความลาดชันไม่เกิน
                  35 เปอร์เซ็นต์ และมีความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ 4 เมตร บริเวณที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

                  2. ข้อเสนอแนะ

                        2.1 ผลการสํารวจและศึกษาทรัพยากรดินในพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้านี้ สามารถนําไปใช้เป็นแนวทาง
                  เบื้องต้นในการกําหนดกรอบการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรสําหรับพืชเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังเป็น

                  แนวทางปฏิบัติให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนอีกด้วย

                        2.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านสํารวจและจําแนกดินร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หากมีการนํา
                  ข้อมูลพื้นฐานที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น ข้อมูลแบบจําลองระดับสูงเชิงเลขที่ได้จากการใช้เทคโนโลยี LIDAR
                  ซึ่งมีความละเอียดสูง หรือการนําภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมาช่วยในการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ เป็นต้น

                  จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์พื้นที่ศึกษาได้ละเอียดขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยให้
                  แผนที่ดินนั้นมีขอบเขตที่ละเอียด แม่นยํา และเป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น สามารถนําไปใช้ในการวางแผนการใช้ที่ดินได้
                  ตรงตามสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวมากขึ้นด้วย

                        2.3 เนื่องจากการสํารวจดินครั้งนี้เป็นเพียงระดับมาตราส่วน 1:25,000 ข้อมูลที่นํามาใช้ในการศึกษา
                  ยังอยู่ในระดับค่อนข้างละเอียด ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมสําหรับโครงการขนาดกลาง เพื่อให้ทราบถึง

                  แนวทางการปฏิบัติงานและพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว หากต้องการข้อมูลที่ใช้ในระดับโครงการขนาดเล็ก ไร่นา
                  หรือแปลงทดลอง จําเป็นต้องมีการสํารวจดิน และเก็บตัวอย่างดินตัวแทนเพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องแม่นยําและ
                  มีความละเอียดเป็นมากขึ้น

                        2.4 สําหรับการพัฒนาพื้นที่เขตศักยภาพสําหรับพืชเศรษฐกิจนั้น ควรมีการจัดการพื้นที่เพื่อให้เหมาะสม
                  กับการผลิตพืชเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ศักยภาพ โดยมีข้อเสนอแนะและมาตรการต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะ

                  ยาว เพื่อช่วยส่งเสริมเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก
                  สําหรับข้าว ข้าวโพด มันสําปะหลัง และอ้อย เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมสําหรับยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น ควรมี
                  การบริหารจัดการน้ํา การปรับปรุงดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่วนในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย
                  สําหรับข้าว ข้าวโพด มันสําปะหลัง และอ้อย ควรปรับปรุง ฟื้นฟูคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ในระดับ

                  ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกพืช โดยการปลูกพืชหมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่วแทรกอยู่ในระบบการปลูกพืชหลัก
                  การปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบลงในดิน ได้แก่ โสนอัฟริกัน ปอเทือง และถั่วต่างๆ ก่อนการปลูกพืชหลัก 2-3 เดือน
                  แล้วไถกลบเมื่อพืชออกดอก หรือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชแก่ดิน
                  อีกทั้งอินทรียวัตถุจะช่วยในการอุ้มน้ําและปุ๋ยไว้ในดิน วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงสมบัติทางด้านกายภาพ และ

                  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งอากาศในดินมีการถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ตลอดจนช่วยให้ผลผลิตของพืชหลักสูงขึ้นด้วย
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179