Page 175 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 175

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          141




                                                            บทที่ 8

                                                           บทสรุป


                  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการสํารวจดิน และจัดทําฐานข้อมูล

                  ทรัพยากรดินในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า

                        ผลจากการนําเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ และพัฒนางานด้านสํารวจจําแนกดิน
                  ทั้งการเตรียมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการสํารวจ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปที่ทันสมัย
                  และสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งผลจากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพในการสํารวจดินและ
                  จัดทําแผนที่ดิน ลดระยะเวลาในการทํางาน อีกทั้งยังช่วยให้แผนที่ดินมีความละเอียด ถูกต้อง และสอดคล้องกับ

                  สภาพภูมิประเทศมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการจัดทําแผนที่ดินในอดีต โดยใช้การแปลภาพถ่ายทาง
                  อากาศ มาตราส่วน 1:40,000 ด้วยกล้องสเตอริโอสโคป ซึ่งความถูกต้องของแผนที่ดินนั้นขึ้นอยู่กับ
                  ประสบการณ์และความชํานาญของผู้แปลภาพ

                        โดยสามารถนํากระบวนการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการสํารวจดินในระดับเขตพัฒนาที่ดิน (มาตราส่วน
                  1:4,000) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการดินปัญหา ตลอดจนการอนุรักษ์ดิน

                  และน้ํา รวมถึงการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยด้านดินหรือศึกษาต่อยอดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดินได้อีกมาก
                  ซึ่งการสํารวจดินแบบละเอียด (detailed survey) จะช่วยเพิ่มความถูกต้องและแม่นยําของแผนที่ดินได้มาก
                  ยิ่งขึ้น สามารถนําไปใช้ในการวางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินในระดับไร่นาหรือในพื้นที่โครงการขนาดเล็กได้อย่างมี

                  ประสิทธิภาพ รวมถึงใช้เป็นฐานข้อมูลที่สําคัญของการวางแผนการใช้ที่ดินในระดับตําบลอีกด้วย อย่างไรก็ตาม
                  การนําข้อมูลดินและแผนที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ควรคํานึงถึงมาตราส่วนของแผนที่ ซึ่งบ่งชี้ถึงความ
                  เหมาะสมของข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

                        ในปัจจุบันหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการนําเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ

                  ข้อมูล โดยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีการปรับข้อมูลให้ทันสมัย พัฒนาเพิ่มความสะดวกการใช้งาน และสามารถ
                  เข้าถึงข้อมูลโดยง่าย พร้อมกับสามารถติดตามข้อมูลความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง รอบด้าน
                  ครอบคลุมการนําไปใช้ประโยชน์ทุกด้าน และที่สําคัญ เป็นการนําเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับข้อมูลด้าน
                  การเกษตร ซึ่งสามารถตอบโจทย์การช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรไทย ในรายพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

                  ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เช่น ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map
                  Online) ซึ่งเป็นผลงานความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
                  เทคโนโลยี แผนที่ตลาดเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น รวมถึงนําไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา
                  แอปพลิเคชันทางการเกษตร ได้แก่ แอปพลิเคชัน “LDD Soil Guide รู้ไว้ใช้ดินเป็น” และ “LDD Zoning แผนที่

                  ทางเลือกพืชเศรศฐกิจ” ของกรมพัฒนาที่ดิน โดยมีการนํา GIS มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานข้อมูลแผนที่
                  พื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของการวิเคราะห์และนําเสนอข้อมูล

                        จากการสํารวจ จําแนก และทําแผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 พบว่า บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า
                  มีหน่วยแผนที่ทั้งหมด 50 หน่วย สามารถจําแนกดินได้ทั้งหมด 6 ชุดดิน และ 12 ดินคล้าย ซึ่งประกอบด้วย
                  หน่วยจําแนกประเภทชุดดิน 16 หน่วยแผนที่ และหน่วยจําแนกประเภทดินคล้าย 32 หน่วยแผนที่ รวมทั้งหมดมี

                  48 หน่วยแผนที่ มีเนื้อที่ 318,948 ไร่ หรือร้อยละ 98.90 ของเนื้อที่ทั้งหมด และเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ด
                  2 หน่วยแผนที่ ได้แก่ ที่ดินหินพื้นโผล่ และพื้นที่น้ํา โดยมีเนื้อที่ 3,540 ไร่ หรือร้อยละ 1.10 ของเนื้อที่ทั้งหมด
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180