Page 176 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 176

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          142




                  ซึ่งดินที่สํารวจพบสามารถจําแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดินในขั้นอันดับ (order) จําแนกได้ 3 อันดับ คือ
                  อันดับอัลทิซอลส์ (Ultisols) อันดับแอลฟิซอลส์ (Alfisols) และอันดับอินเซปทิซอลส์ (Inceptisols)

                        เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพพื้นที่ ธรณีสัณฐาน และลักษณะของดิน พบว่า ลักษณะและ
                  สมบัติของดินมีความสัมพันธ์ตามปัจจัยการกําเนิดดินโดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ และวัตถุต้นกําเนิดดิน
                  โดยพบดินตื้นถึงชั้นหินผุบริเวณเทือกเขาหินภูเขาไฟ พวกแอนดีไซท์ และพวกแกรนิต ดินเหนียวลึกถึงลึกปานกลาง

                  ถึงชั้นหินผุบริเวณภูเขาหินตะกอนเนื้อละเอียดพวกหินดินดาน บริเวณตะพักลําน้ําระดับสูงเป็นดินลึกมาก
                  ส่วนที่ราบบริเวณส่วนต่ําของตะพักลําน้ําเป็นดินเหนียวมีการระบายน้ําค่อนข้างเลว

                  2. สมบัติของดินสําหรับการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเหมาะสมของดิน และศักยภาพของ
                  ดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า

                        จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพของดินในพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า โดยใช้ดินเป็นตัวแทนของหน่วยแผนที่

                  ทั้งหมดจํานวน 13 พีดอน แสดงให้เห็นว่า การกระจายของอนุภาคขนาดทรายของดินทุกบริเวณในชั้นดินบน
                  อยู่ในพิสัย 114 - 901 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในชั้นดินล่างอยู่ในพิสัย 42 - 825 กรัมต่อกิโลกรัม และการ
                  แจกกระจายของอนุภาคขนาดทรายแป้งของดินอนุภาคขนาดทรายแป้งในชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย 69 - 575
                  กรัมต่อกิโลกรัม และในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย 98 - 564 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนการแจกกระจายของอนุภาค

                  ขนาดดินเหนียวของดิน พบว่าในชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย 30 - 530 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ใน
                  พิสัย 55 - 561 กรัมต่อกิโลกรัม จะเห็นว่า ส่วนใหญ่การสะสมของอนุภาคขนาดดินเหนียวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
                  ความลึก ซึ่งแสดงถึงการมีพัฒนาการของหน้าตัดดิน (Buol et al., 2008) ความหนาแน่นรวมของดินในพื้นที่
                  ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้ามีค่าอยู่ในระดับต่ําถึงค่อนข้างสูง โดยในชั้นดินบนมีค่าอยู่ในพิสัย 1.04 - 1.59 เมกกะกรัม

                  ต่อลูกบาศก์เมตร ในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ในพิสัย 0.96 - 1.77 เมกกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งส่วนใหญ่
                  ความหนาแน่นรวมของดินทั้ง 13 พีดอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความลึก

                        เมื่อพิจารณาสมบัติทางเคมีของดินตัวแทนในพื้นที่ลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า จะเห็นว่า ค่าปฏิกิริยาดินจาก
                  วิธีใช้ดินต่อน้ําในอัตราส่วน 1:1 อยู่ในช่วงเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างจัด (pH 5.1 - 8.8) และด้วยวิธีดินต่อ
                  โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) ในอัตราส่วน 1:1 มีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วงกรดรุนแรงถึงเป็นกลาง (pH 3.5 - 7.2)

                  ซึ่งการที่ดินมีค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดมากแสดงถึงมีการชะละลายที่มาก และดินมีพัฒนาการค่อนข้างสูง
                  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548; Brady and Weil, 2008) ปริมาณอินทรียวัตถุในดินของดินตัวแทน มีค่าอยู่ใน
                  ระดับต่ํามากถึงสูงมาก อยู่ในพิสัย 1.1 - 54.5 กรัมต่อกิโลกรัม โดยชั้นดินบนมีค่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูงมาก
                  (27.2 - 54.5 กรัมต่อกิโลกรัม) และในชั้นดินล่างมีค่าอยู่ในระดับต่ํามากถึงปานกลาง (5.6 - 18.8 กรัมต่อกิโลกรัม)

                  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ มีค่าอยู่ในระดับต่ํามากถึงสูงมาก โดยอยู่ในพิสัย
                  0.1 - 40.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 32 - 455 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ หากพิจารณาความเป็นกรดที่สกัดได้
                  ของดินตัวแทน จะเห็นว่า มีค่าอยู่ในระดับต่ําถึงสูง (1.46 - 12.52 เซนติโมลต่อกิโลกรัม) อีกทั้งมีแนวโน้ม

                  ความสัมพันธ์ในทางเดียวกับปริมาณอินทรียวัตถุของดิน ทั้งนี้เนื่องจากอินทรียวัตถุซึ่งมีค่าสูงในชั้นดินบน
                  สามารถดูดซับไฮโดรเจนไอออนได้มาก (Foth, 1984; Tan, 1993) และเมื่อพิจารณาความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน
                  และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสของดินตัวแทน พบว่ามีค่าอยู่ในระดับต่ําถึงสูง โดยอยู่ในพิสัย 3.86 - 26.21
                  เซนติโมลต่อกิโลกรัม และร้อยละ 18.41 - 91.37 ตามลําดับ

                        ส่วนองค์ประกอบเชิงแร่ในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียวและอนุภาคขนาดทรายแป้งของดินตัวแทน จะเห็นว่า

                  สมบัติทางแร่วิทยาในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียวของดินจะพบแร่อิลไลต์เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลักในเกือบทุกบริเวณ
                  แต่จะพบแร่เคโอลิไนต์เป็นองค์ประกอบหลักใน Ty และ Cg-low,f ซึ่งแสดงว่าดินดังกล่าวมีพัฒนาการสูงกว่า
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181