Page 20 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
2.4.2 กลุ่มชุดดินที่ 5 มีเนื้อที่ 166,635 ไร่ หรือร้อยละ 5.88 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
ที่เป็นดินเหนียวหรือกลุ่มดินเหนียวจัดลึกมากสีเทา เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ า
พบบริเวณที่ราบตะกอนน้ าพา มีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มหรือราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน
การระบายน้ าเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง บางพื้นที่พบในพื้นที่ลุ่มต่ า มีน้ าไหลบ่า
ท่วมขังสูงในฤดูฝน หรือพบเม็ดปูนมากมายในความลึก 100 เซนติเมตร จากผิวดิน มีเนื้อดินชั้นบน
เป็นดินร่วนปนดินเหนียวลึกมากสีเทาแก่ มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง
ถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-6.5 มีเนื้อดินชั้นล่าง เป็นดินเหนียวหรือ
ดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ าตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5-8.0 มักพบก้อน
สารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส หรือเม็ดปูนปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง
กลุ่มชุดดินนี้เหมาะสมในการท านา และมีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่และพืชผัก
ในช่วงฤดูแล้ง ถ้าใช้ประโยชน์ในการท านาจะให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูงส าหรับ
ปัญหาและข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ปัญหาน้ าท่วมในบางปี การระบายน้ าของดินเลว จึงไม่
สามารถปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ในช่วงฤดูฝน ถ้าจะใช้ปลูกพืชไร่และพืชสวนต้องท าคันดินรอบ
พื้นที่เพื่อป้องกันน้ าท่วม และยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายของดิน นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว
กลุ่มชุดดินนี้ยังขาดธาตุอาหารพืชบางธาตุ จ าเป็นต้องใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี การใช้ประโยชน์
ที่เหมาะสมควรด าเนินการแบบไร่นาสวนผสม
2.4.3 กลุ่มชุดดินที่ 6 มีเนื้อที่ 128,881 ไร่ หรือร้อยละ 4.55 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
ที่เป็นดินเหนียวลึกมากสีเทา เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ า พบบริเวณพื้นที่ราบตะกอน
น้ าพา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายน้ าเลว
หรือค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า บางพื้นที่พบในพื้นที่ลุ่มต่ า มีน้ าไหลบ่าท่วมขังสูง
ในฤดูฝน หรือพบในพื้นที่ค่อนข้างดอนท าให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ า มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วน
ปนเหนียว สีเทาแก่หรือสีน้ าตาล มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็น
กรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0 มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียว
ปนทรายแป้ง สีน้ าตาลเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาลสีเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก
ถึงเป็นกรดจัดมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 บางพื้นที่มีศิลาแลงอ่อนหรือก้อนสารเคมี
สะสมพวกเหล็กแมงกานีสปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง
กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งใช้ปลูกพืชไร่
อายุสั้นหรือพืชผักได้ แต่ถ้าจะปลูกพืชไร่ ไม้ผลหรือพืชผักตลอดปี ต้องมีการพัฒนาที่ดินโดยการท าคันดิน
และยกร่องปลูก ถ้าใช้ประโยชน์ในการท านา จะให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างดี ปัญหาและ
ข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ปัญหาน้ าท่วมขัง สภาพของพื้นที่เดิมจึงไม่เหมาะส าหรับปลูกพืชไร่
ไม้ผล หรือพืชผัก เว้นแต่จะได้ปรับปรุงแก้ไข ส่วนปัญหาทางกายภาพ คือ ดินแน่น และดินมีความ
อุดมสมบูรณ์ต่ า ต้องปรับปรุงแก้ไขด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุปรับปรุงดิน การใช้ประโยชน์
กลุ่มชุดดินที่ 6 ที่เหมาะสมควรจะเป็นการใช้ที่ดินแบบ “ไร่นาสวนผสม” คือ มีการปลูกข้าว ไม้ผล
ท าสวนผัก และเลี้ยงสัตว์ ควบคู่กันไป