Page 17 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               10







                            2.3.2 พื้นที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ าน่านและแม่น้ ายม พื้นที่ส่วนนี้มีความลาดเทจากทิศเหนือในเขต
                       อ าเภอเมืองพิจิตร และอ าเภอสามง่าม แล้วค่อย ๆ ลาดต่ าลงไปทางทิศใต้ ในเขตอ าเภอโพธิ์ประทับช้าง
                       อ าเภอตะพานหิน อ าเภอโพทะเล และอ าเภอบางมูลนาก อีกทั้งยังมีแม่น้ าพิจิตร (แม่น้ าน่านเดิม)
                       ไหลผ่านระหว่างแม่น้ าทั้งสอง  บริเวณนี้มีพื้นที่โครงการชลประทานขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการส่งน้ า

                       และบ ารุงรักษาพลายชุมพล โครงการส่งน้ าและบ ารุงรักษาดงเศรษฐี และโครงการส่งน้ าและบ ารุง
                       รักษาท่าบัว
                            2.3.3 พื้นที่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ ายม พื้นที่ส่วนนี้มีลักษณะลาดเทจากทิศตะวันตกไปทาง
                       ทิศตะวันออก ซึ่งพื้นที่ที่ติดแม่น้ ายมจะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ าน้ าท่วมถึง ในฤดูน้ าหลาก น้ าจากแม่น้ ายม

                       จะเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มต่ าอยู่เสมอ พื้นที่ส่วนนี้ประกอบด้วย พื้นที่อ าเภอวชิรบารมี อ าเภอสามง่าม
                       อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง อ าเภอบึงนาราง และอ าเภอโพทะเล

                       2.4  ทรัพยากรดิน

                            จากข้อมูลแผนที่กลุ่มชุดดินของกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน (2558) พบว่า จังหวัดพิจิตร
                       มีกลุ่มชุดดินทั้งหมด 23 กลุ่มชุดดิน เนื้อที่ 2,639,679 ไร่ และเป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ด เนื้อที่ 192,204 ไร่
                       ได้แก่ สุสาน เหมืองแร่ทองค า บ่อลูกรัง ที่อยู่อาศัย และแหล่งน้ า (ตารางที่ 3 และภาพที่ 4) โดยมี

                       รายละเอียดของกลุ่มชุดดินพอสังเขป ดังนี้ (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548) และ
                       (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552)
                            2.4.1 กลุ่มชุดดินที่ 4 มีเนื้อที่  813,916  ไร่ หรือร้อยละ 28.74 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากเป็น
                       อันดับ 2 จากกลุ่มชุดดินทั้งหมดของจังหวัด เป็นกลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวหรือกลุ่มดินเหนียวจัดลึก
                       มากสีเทา เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ า  พบบริเวณที่ราบตะกอนน้ าพา มีสภาพพื้นที่

                       เป็นที่ราบลุ่มหรือราบเรียบ มีน้ าแช่ขังในช่วงฤดูฝน หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึกในฤดูแล้ง
                       และอาจมีรอยถูไถในดินล่าง  มีการระบายน้ าเลวหรือค่อนข้างเลว  ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
                       ปานกลาง บางพื้นที่พบในพื้นที่ลุ่มต่ า มีน้ าไหลบ่าท่วมขังสูงในฤดูฝนหรือพบในพื้นที่ค่อนข้างดอน

                       ท าให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ า มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวสีด าหรือสีเทาเข้ม
                       มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
                       ประมาณ 5.5-6.5 มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาหรือสีน้ าตาลปนเทา
                       มีจุดประสีน้ าตาลปนเหลือง สีเหลือง สีน้ าตาลแก่หรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือด่างปานกลาง

                       มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ  7.0-8.0  อาจพบก้อนปูนหรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและ
                       แมงกานีสในชั้นดินล่าง
                                  กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการท านาในช่วงฤดูฝน และเหมาะสมในการปลูกพืช
                       ไร่และพืชผักหลายชนิดในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาและข้อจ ากัดในการปลูกพืชที่ส าคัญ ได้แก่ ปัญหาน้ าท่วม

                       และการระบายน้ าของดินไม่ดี
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22