Page 25 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
ส่วนดินชั้นล่างถ้ามีก้อนปูนปะปน มีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงเป็นด่างจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
7.0-8.5 อาจพบแร่ไมกาหรือก้อนปูนปะปนอยู่ในดินชั้นล่าง
กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชหลายชนิดทั้งข้าว พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก
แต่การใช้ประโยชน์จะให้ผลดีที่สุดหากจัดระบบการปลูกพืชแบบไร่นาสวนผสม โดยแบ่งพื้นที่เป็น
สัดส่วนอย่างเหมาะสม เช่น พื้นที่ท านา ท าไร่ หรือปลูกไม้ผล รวมทั้งพื้นที่เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ า
เพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ส าหรับปัญหาและข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ไม่ค่อย
มีมากนัก จะมีก็เฉพาะด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน กล่าวคือถ้าใช้เพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน
ท าให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลง เนื่องจากขาดธาตุอาหารพืชบางธาตุ นอกจากนี้ยังอาจขาดแคลนน้ า
เพื่อการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง ดังนั้นการจัดการดินเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช ควรเน้นด้านการ
พัฒนาแหล่งน้ า รักษาความชื้นในดิน การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเน้นการปลูกพืช
บ ารุงดิน ใช้ปุ๋ยทั้งปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก) และปุ๋ยเคมีเมื่อมีความจ าเป็น
2.4.14กลุ่มชุดดินที่ 35 มีเนื้อที่ 9,290 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดินที่
เป็นดินร่วนละเอียดลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ า หรือการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือ
การสลายตัวผุพัง แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ ที่ส่วนใหญ่มาจากหินตะกอน มีสภาพ
พื้นที่เป็นลูกคลื่นจนถึงเนินเขา มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
อาจพบลูกรังในช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตร จากผิวดินหรือท าคันดินเพื่อกักเก็บน้ าส าหรับท านา
มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาล สีเหลือง หรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
ถึงเป็นกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-6.0 มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนียว
ปนทราย สีน้ าตาลเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างประมาณ 4.5-5.5 อาจพบจุดประสีต่างๆในชั้นดินล่าง
กลุ่มชุดดินนี้จัดว่าเหมาะสมส าหรับปลูกพืชไร่ พืชล้มลุก ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือใช้ท าทุ่งหญ้า
เลี้ยงสัตว์ แต่ไม่เหมาะในการท านาเนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามยังมีข้อจ ากัดในการ
ปลูกพืชหลายอย่าง เช่น ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า และเสี่ยงต่อการชะล้าง
พังทลาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีความลาดชันสูง แนวทางในการจัดการดินเพื่อปลูกพืชต่าง ๆ ที่ส าคัญ
คือ การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีตาม
ความจ าเป็น นอกจากนี้ ยังต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายอย่างเหมาะสม
2.4.15กลุ่มชุดดินที่ 38 มีเนื้อที่ 104,746 ไร่ หรือร้อยละ 3.70 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
ที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ า พบบนสันดินริมน้ าหรือที่ราบ
ตะกอนน้ าพา มีลักษณะการทับถมเป็นชั้น ๆ ของตะกอนแม่น้ าในแต่ละช่วงเวลา ในสภาพพื้นที่ค่อนข้าง
ราบเรียบ เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
บางพื้นที่พบในพื้นที่ต่ า มีน้ าท่วมขังจากการไหลบ่าของน้ าในฤดูฝน มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย
สีน้ าตาลหรือสีเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-7.0
มีเนื้อดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนทราย หรือเป็นชั้นสลับที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย
ดินทรายปนดินร่วน สีน้ าตาลหรือสีเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็น
ด่างประมาณ 5.5-7.0 อาจพบจุดประสีเล็กน้อยในดินล่าง บางพื้นที่อาจพบแร่ไมกาหรือผงปูนในดินล่าง