Page 24 - สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ.2559
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
2.4.11กลุ่มชุดดินที่ 28 มีเนื้อที่ 1,630 ไร่ หรือร้อยละ 0.06 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
ที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ ได้แก่ หินบะซอลต์ แอนดิไซต์ เป็นส่วนใหญ่ และหินปูน
สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด ความลาดเทอยู่ระหว่าง 2-8 เปอร์เซ็นต์ สภาพ
การระบายน้ าดีปานกลางถึงดี ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน สีดินเป็นสีด าหรือสีเทา
เข้มมากหรือสีน้ าตาล ในฤดูแล้งดินจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่าง
ปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0-8.0 ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่ในระดับ
ปานกลางถึงสูง
กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก แต่การใช้ประโยชน์นั้น
ควรเน้นการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น ปลูกพืชไร่-ไม้ผล-หญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือ พืชไร่-พืชผัก-ไม้ผล
หรือ ไม้ยืนต้น-หญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ การชะล้างพังทลายของ
หน้าดิน ขาดแคลนน้ าในการเพาะปลูกในฤดูแล้ง และดินขาดธาตุอาหารพืชบางธาตุ การจัดการดิน
ทั่วไปที่ควรด าเนินการ ได้แก่ การอนุรักษ์ดินและน้ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทตั้งแต่
5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป โดยการไถพรวนตามแนวระดับและใช้วิธีการทางพืช เช่น การปลูกพืชขวางความ
ลาดเท นอกจากนี้ยังต้องด าเนินการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และ
ปุ๋ยเคมีตามความจ าเป็น
2.4.12กลุ่มชุดดินที่ 31 มีเนื้อที่ 15,781 ไร่ หรือร้อยละ 0.56 ของเนื้อที่จังหวัด พบบริเวณที่ดอน
มีสภาพเป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ความลาดเท 2-20 เปอร์เซ็นต์ เนื้อดินเป็นดินเหนียว สีน้ าตาล
สีเหลือง และสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงกรดปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-6.5
ความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง ดินมีการระบายน้ าดี ปัจจุบันใช้ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น
และผักต่าง ๆ
กลุ่มชุดดินนี้ถึงแม้จะมีศักยภาพเหมาะสมกับการปลูกพืชดังกล่าว แต่การใช้ประโยชน์
จะมีประสิทธิภาพสูง ควรจัดระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ส าหรับปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ได้แก่ การชะล้างพังทลายของหน้าดิน ขาดแคลนน้ าส าหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้ง และดินมี
ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากขาดธาตุอาหารพืชบางธาตุ ส าหรับพื้นที่มีความลาดเทตั้งแต่
5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ควรด าเนินการอนุรักษ์ดินและน้ า ด้วยวิธีกลร่วมกับวิธีทางพืช นอกจากนี้ ยังต้อง
ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามความจ าเป็น
2.4.13กลุ่มชุดดินที่ 33 มีเนื้อที่ 353,977 ไร่ หรือร้อยละ 12.50 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากเป็น
อันดับ 3 จากกลุ่มชุดดินทั้งหมดของจังหวัด เป็นกลุ่มชุดดินที่เป็นดินทรายแป้งลึกมาก เกิดจากตะกอน
แม่น้ าหรือตะกอนน้ าพารูปพัด พบบนสันดินริมน้ าเก่าเนินตะกอนรูปพัดหรือที่ราบตะกอนน้ าพา มีสภาพ
พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด การระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติปานกลาง บางพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากความเค็มของดิน หรือมีเนื้อดินเหนียวลดลง
ในดินชั้นล่าง หรือท าคันดินเพื่อกักเก็บน้ าส าหรับท านา มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง
หรือดินร่วน สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรด
เป็นด่างประมาณ 5.5-6.5 มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ าตาล สีเหลือง หรือสี
น้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-6.5