Page 92 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           73



                             ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็น
                  กลาง (pH 5.5 - 7.0) ดินล่างเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือสีแดง ลึกลงไปเป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวปนทราย สีแดงหรือสีแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็น

                  กรดจัดมาก (pH 4.5 - 5.0)

                  5. สภาพภูมิอากาศ

                        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน (tropical savanna climate : Aw) มีช่วง

                  ฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนแตกต่างกันอย่างชัดเจน การกระจายตัวของฝน และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
                  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ทิศทาง ได้แก่ 1) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะพัดเอาลมหนาวมาจาก
                  ประเทศจีน ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาฝนมาจาก
                  มหาสมุทรอินเดีย ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม ทิศทางและความเร็วของลมมรสุมทั้งสองชนิดจะ

                  เปลี่ยนไปมาตลอด โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดผ่านจะทําให้ฝนตกทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของ
                  ภาคเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาพนมดงรักขวางกั้นทิศทางของลมอยู่ ทําให้
                  ส่วนที่พัดพาเข้าสู่ตัวภาคมีปริมาณฝนลดลง และไม่กระจัดกระจายไปตลอดทั้งภาค นอกจากลมมรสุมแล้วยัง

                  ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชัน ซึ่งเกิดจากพายุใต้ฝุ่นที่เคลื่อนตัวมาจากทะเลจีนใต้ทางอ่าวตังเกี๋ยผ่าน
                  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ของประเทศไทยจะอ่อนกําลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ส่งผลทําให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกชุก
                  ที่สุด บริเวณเขตต้านลมเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ได้แก่ จังหวัดหนองคาย สกลนคร และ
                  นครพนม พายุนี้มีจะอิทธิพลเด่นชัดมากในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน


                        เขตภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จําแนกได้ดังนี้
                           1) มรสุมเขตร้อน-ชื้นปานกลาง-มีฝนหนัก ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันออกและตอนเหนือของเทือกเขา
                  ภูพาน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อํานาจเจริญ และบางส่วน
                  ของจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อุดรธานี และหนองบัวลําภู เขตนี้มีฝนตก 5.5 - 6.5

                  เดือนในรอบปี เป็นด้านรับลมของเทือกเขาภูพานที่พัดเอาความชื้นมาจากทะเลจีนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ
                  พายุดีเปรสชัน เขตนี้จึงเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีมากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                           2) มรสุมเขตร้อน-ชื้นปานกลาง-มีฝนน้อย ได้แก่ พื้นที่อีสานใต้ถัดจากแนวเทือกเขาพนมดงรักลงมา
                  ในที่ลาดต่ํา วางตัวยาวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ

                  สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และพื้นที่จังหวัดชัยภูมิด้านตะวันตก เขตนี้มีฝนตก 5.5 - 6.5 เดือนในรอบปี เป็นเขต
                  เงาฝนของเทือกเขาสันกําแพง และเทือกเขาพนมดงรัก
                           3) มรสุมเขตร้อน-ชื้นน้อย-มีฝนน้อย ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางค่อนมาทางตะวันตกของภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือพื้นที่ระหว่างเทือกเขาภูพานกับเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก ครอบคลุม

                  พื้นที่บางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ อุดรธานี
                  และหนองบัวลําภู เขตนี้มีฝนตก 4.5 - 5.5 เดือนในรอบปี เป็นเขตเงาฝนของทุกเทือกเขาในภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97