Page 87 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 87

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           68



                  หรือสีเทาอ่อน พบจุดประสีแดง สีน้ําตาลแก่หรือสีน้ําตาลปนเหลือง และศิลาแลงอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรด
                  รุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5)

                           25) ชุดดินปลาปาก (Plapak series: Ppk)
                             การจําแนกดิน : Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Plinthaquic) Paleustults

                             ชุดดินปลาปากเป็นดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก ตื้นถึงชั้นกรวดลูกรัง เกิดจากการ
                  สลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินตะกอนต่างยุค หรือตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถมอยู่บนตะกอนเนื้อละเอียด
                  บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด
                  ความลาดชัน 1 - 8 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดีปานกลาง โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนกรวดลูกรังเล็กน้อย สีน้ําตาลปนเทาเข้ม และมีจุดประ
                  สีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0 - 6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว
                  ปนกรวดลูกรังและมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามความลึก มีสีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลแก่ และดินล่างภายใน 50 - 100
                  เซนติเมตร เป็นดินเหนียวปนลูกรังมาก ถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียว สีเทาปนน้ําตาลอ่อนหรือสีเทาอ่อน มีจุดประ

                  สีแดง สีน้ําตาลแก่หรือสีน้ําตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน และพบศิลาแลงอ่อนปริมาณ 2 - 50 เปอร์เซ็นต์
                  โดยปริมาตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5)

                           26) ชุดดินปักธงชัย (Pakthongchai series: Ptc)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic (Kandic) Paleustults
                             ชุดดินปักธงชัยเป็นดินร่วนหยาบ ลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอน ของหิน

                  ตะกอนเนื้อหยาบที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 1 - 12 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมีความ
                  อุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินทราย สีน้ําตาล สีน้ําตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก
                  ถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0 - 6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ําตาล สีน้ําตาลปนเหลือง สีน้ําตาลปนแดง
                  หรือสีแดงปนเหลือง อาจพบจุดประสีน้ําตาลแก่หรือสีเหลืองปนแดงปริมาณเล็กน้อย ภายในความลึก 100
                  เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5)


                           27) ชุดดินภูเรือ (Phu Ruea series: Pur)
                             การจําแนกดิน : Fine-silty, mixed, semiactive, hyperthermic Typic Paleustults
                             ชุดดินภูเรือเป็นดินทรายแป้งละเอียด ลึก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้าย
                  มาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทรายแป้ง อาจมีหินดินดานปะปน พบในสภาพพื้นที่มี
                  ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2 - 20 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี

                  โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้ง สีน้ําตาลหรือสีน้ําตาลเข้ม ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวหรือ
                  ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5)

                  ตลอดหน้าตัดดิน อาจพบชั้นส่วนของหินทรายแป้งปะปนในหน้าตัดดิน

                           28) ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-Et series: Re)
                             การจําแนกดิน : Fine-loamy, mixed, semiactive, isohyperthermic Aquic Haplustalfs
                             ชุดดินร้อยเอ็ดเป็นดินร่วนละเอียด ลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มาจากการสลายตัว
                  ผุพังอยู่กับที่ของหินตะกอนบริเวณส่วนต่ําของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92