Page 90 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           71



                           35) ชุดดินท่าอุเทน (Tha Uthen series: Tu)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy over clayey-skeletal, siliceous over kaolinitic, subactive,
                  noncemented, isohyperthermic Oxyaquic Haplorthods

                             ชุดดินท่าอุเทนเป็นดินร่วนหยาบทับอยู่บนดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก เกิดจากการ
                  สลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือตะกอนของหินตะกอนที่ถูกชะมาทับถมอยู่บริเวณพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน
                  พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1 - 5 เปอร์เซ็นต์ มีการ
                  ระบายน้ําดีปานกลางในดินบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน สีเทาหรือสีน้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็น

                  กรดจัด (pH 4.5 - 5.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ําตาล ถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียว
                  ปนทราย สีน้ําตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ําตาล ซึ่งเป็นชั้นสะสมอินทรียวัตถุ อะลูมิเนียมและ/หรือเหล็ก
                  (spodic horizon) ถัดลงไปเป็นดินเหนียวสีเทาอ่อน สีน้ําตาลซีดมากหรือสีขาว พบจุดประสีแดงและสีเหลือง

                  ในดินล่างระหว่างชั้นสะสมอินทรียวัตถุ อะลูมิเนียมและ/หรือเหล็กกับชั้นดินเหนียว จะพบชั้นลูกรังจับตัวกัน
                  ค่อนข้างแน่นทึบในช่วงความลึกระหว่าง 50-80 เซนติเมตร ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัดมาก
                  (pH 4.5 - 5.0)

                           36) ชุดดินอุบล (Ubon series: Ub)
                             การจําแนกดิน : Loamy, siliceous, semiactive, isohyperthermic Aquic (Grossarenic) Haplustalfs

                             ชุดดินอุบลเป็นดินร่วน ลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มาจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
                  ของหินตะกอนบริเวณส่วนต่ําของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0 -2 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง โดยทั่วไปมีความ
                  อุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน สีน้ําตาลหรือน้ําตาลปนเทา มีจุดประสีน้ําตาลปนเหลืองเข้ม
                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5 - 6.5) ดินล่างตอนบนเป็นดินทรายปนดินร่วน สีน้ําตาล
                  มีจุดประสีน้ําตาลปนเหลืองเข้มหรือน้ําตาลแก่และสีน้ําตาลปนเทา ดินล่างตอนล่างลึก 100 - 200 เซนติเมตร

                  เป็นดินร่วนปนทราย สีน้ําตาล สีน้ําตาลปนเทา มีจุดประสีน้ําตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
                  (pH 5.5 - 7.0)

                           37) ชุดดินวังไห (Wang Hai series: Wi)
                             การจําแนกดิน : Fine, mixed, active, isohyperthermic Oxyaquic (Ultic) Paleustalfs
                             ชุดดินวังไหเป็นดินเหนียว ลึกมาก เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาใน

                  ระยะทางไม่ไกลนักของหินทรายแป้งผสมกับหินดินดาน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึง
                  ลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2 - 12 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
                             ดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ําตาลเข้มถึงสีน้ําตาลปนแดงเข้ม
                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง

                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีแดง มีจุดประสี
                  น้ําตาลปนเหลืองและสีน้ําตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5 - 5.5)
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95