Page 93 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 93

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           74



                           4) มรสุมเขตร้อน-ชื้นมาก-เยือกเย็นและแห้งแล้งแบบภูเขา ได้แก่ ลักษณะภูมิอากาศในเขตเทือกเขา
                  ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบเทือกเขาสันกําแพง-พนมดงรัก เทือกเขาภูพาน เทือกเขาเพชรบูรณ์
                  ตะวันออก และทิวเขาสูงในเขตจังหวัดเลย เขตนี้มีฝนตก 6.5 - 8.0 เดือนในรอบปี มีอากาศค่อนข้างเย็น

                  เนื่องจากเป็นภูเขาสูง
                           5) มรสุมเขตร้อน-ชื้นปานกลาง-มีฝนน้อย-อากาศเย็นและแห้งแล้ง ได้แก่ ลักษณะภูมิอากาศเขต
                  หุบเขาของจังหวัดเลย ในบริเวณอําเภอนาแห้ว อําเภอเชียงคาน และอําเภอเมืองเลย เขตนี้มีฝนตก 5.5 - 6.5
                  เดือนในรอบปี เป็นเขตเงาฝนของภูเขาโดยรอบ และเป็นเขตอากาศหนาวเย็นบริเวณหนึ่งของภูมิภาคและของ
                  ประเทศไทย (กวี, 2547)


                        ฤดูกาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 3 ฤดู คือ ฤดูแล้ง ฤดูฝน และฤดูหนาว มีระยะเวลาโดยประมาณ
                  ในรอบปี ดังนี้
                           1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มได้รับลมมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และจากอ่าวไทย แต่เนื่องจากภูมิภาคนี้อยู่ห่างไกลทะเล อุณหภูมิโดยทั่วไปจึง

                  สูงและแห้งแล้ง
                           2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน โดยฝนที่ได้รับส่วนใหญ่เกิดจาก
                  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุดีเปรสชัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะในปีที่
                  ฝนเริ่มเร็วฝนอาจหยุดไประยะหนึ่ง

                           3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม เดือนตุลาคมเป็นระยะเปลี่ยนจากฤดูฝนมา
                  เป็นฤดูหนาว มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคทําให้อุณหภูมิค่อยๆ ลดลง
                  จังหวัดทางตอนเหนือของภาคได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้มากที่สุด จึงมีอุณหภูมิต่ํากว่า
                  จังหวัดทางตอนกลางและตอนใต้ของภาค


                        จากข้อมูลลักษณะภูมิอากาศเฉลี่ยสถานีหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจํานวน 28 สถานี (ตารางที่ 35)
                  พบว่า ปริมาณน้ําฝนทั้งหมด อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และศักย์การคายระเหยน้ําเฉลี่ยต่อปี ในคาบ 30 ปี
                  (พ.ศ. 2530 - 2559) มีลักษณะดังนี้ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2559) มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 26.8 องศาเซลเซียส
                  โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ 32.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ําสุดเท่ากับ 22.4 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ําฝน

                  รวมตลอดปี 1,415.8 มิลลิเมตร ส่วนความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีร้อยละ 74 และศักย์การคายระเหยน้ํา
                  ตลอดปี 1,596.0 มิลลิเมตร
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98