Page 91 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 91

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           72



                           38) ชุดดินวาริน (Warin series: Wn)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic (Kandic) Paleustults
                             ชุดดินวารินเป็นดินร่วนหยาบ ลึก เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มาจากการสลายตัวผุพัง

                  อยู่กับที่ของหินตะกอนบริเวณส่วนกลางถึงสูงของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1 - 5 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมี
                  ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
                             ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลปนเทา ปฏิกิริยาดิน
                  เป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0 - 6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีแดงปนเหลืองหรือ

                  สีเหลืองปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5 - 6.5)

                           39) ชุดดินวังสะพุง (Wang Saphung series: Ws)
                             การจําแนกดิน : Fine, mixed, active, isohyperthermic Ultic Haplustalfs
                             ชุดดินวังสะพุงเป็นดินเหนียว ลึกปานกลางถึงชั้นหินผุของหินดินดาน เกิดจากการผุพังสลายตัว

                  ของหินตะกอนเนื้อละเอียดและหินที่แปรสภาพ เช่น หินดินดาน หินทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน หินฟิลไลท์
                  เป็นต้น บริเวณพื้นที่ภูเขา และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วง
                  บริเวณเชิงเขา พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน 2 - 20
                  เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

                             ดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ําตาลเข้มถึงสีน้ําตาลปนเทาเข้ม
                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0 - 7.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง
                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0 - 6.0) ดินล่างเป็นดินเหนียวมีเศษหินปะปนหนาแน่น
                  และพบชั้นหินพื้นภายใน 100 เซนติเมตรจากผิวดิน สีน้ําตาลปนแดงหรือสีน้ําตาลปนเหลือง มีจุดประสีน้ําตาล

                  ปนเหลือง สีแดง สีน้ําตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5 - 6.5)

                           40) ชุดดินยางตลาด (Yang Talat series: Yl)
                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, siliceous, semiactive, isohyperthermic Oxyaquic (Ultic)
                  Haplustalfs

                             ชุดดินยางตลาดเป็นดินร่วนหยาบ ลึก เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มาจากการสลายตัวผุพัง
                  อยู่กับที่ของหินตะกอนบริเวณส่วนกลางถึงสูงของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะ
                  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2 - 8 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมี
                  ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา

                             ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ําตาลเข้มหรือสีน้ําตาลปนแดงและเป็น
                  ดินร่วนปนทราย สีน้ําตาลปนแดงในดินล่างลึกลงไป พบจุดประสีน้ําตาลแก่ในชั้นดินนี้ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                  ถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5 - 6.5) ตลอดหน้าตัดดิน

                           41) ชุดดินยโสธร (Yasothon series: Yt)

                             การจําแนกดิน : Coarse-loamy, siliceous, isohyperthermic Typic Kandiustults
                             ชุดดินยโสธรเป็นดินร่วนหยาบ ลึก เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มาจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
                  ของหินตะกอนบริเวณส่วนกลางถึงสูงของพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดิน พบในสภาพพื้นที่มีลักษณะค่อนข้าง
                  ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 1 - 8 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ําดี โดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์ต่ํา
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96