Page 165 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 165

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          143



                        3.4 การเปรียบเทียบเนื้อดินในระบบ USDA กับการจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO
                  ต่องานด้านปฐพีกลศาสตร์

                           การจําแนกเนื้อดินในระบบ USDA มี 12 ประเภท ได้แก่ ดินทราย (s) ดินทรายปนดินร่วน (ls)
                  ดินร่วนปนทราย (sl) ดินร่วน (l) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) ดินทรายแป้ง (si) ดินร่วนเหนียวปนทราย (scl)

                  ดินร่วนเหนียว (cl) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl) ดินเหนียวปนทราย (sc) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic)
                  และดินเหนียว (c) ซึ่งประเภทของเนื้อดินนําไปใช้ในการประเมินความเหมาะสมในเรื่องการใช้เป็นแหล่งหน้าดิน
                  และยานพาหนะในช่วงฤดูฝน

                           ส่วนระบบ Unified แบ่งดินออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ดินเม็ดหยาบ และดินเม็ดละเอียด โดยกลุ่มดิน
                  เม็ดหยาบ คือ GW, GP, GM, GC, SW, SP, SM และ SC ในกลุ่มเม็ดละเอียด คือ MH, CH, OH, ML, CL, OL

                  และ PT นําไปใช้ในการประเมินความเหมาะสมในเรื่องการใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง
                  เส้นทางแนวถนน คันกั้นน้ํา โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ในขณะระบบ AASHO แบ่งดิน
                  ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ดินเม็ดหยาบ และดินเม็ดละเอียด โดยกลุ่มดินเม็ดหยาบ คือ A-1, A-2 และ A-3 ในกลุ่ม

                  เม็ดละเอียด คือ A-4, A-5, A-6, A-7 และ A-8 นําไปใช้ในการประเมินความเหมาะสมในเรื่องการใช้เป็นดินถม
                  หรือดินคันทาง และเส้นทางแนวถนน

                           จากผลการศึกษาเปรียบเทียบเนื้อดิน โดยคํานึงถึงสัดส่วนปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และ
                  ดินเหนียวที่เป็นองค์ประกอบโดยระบบ USDA กับการจําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO สําหรับการ
                  ประเมินงานทางด้านปฐพีกลศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้ (ตารางที่ 60)


                           กลุ่มที่ 1 ดินทราย (s) และดินทรายปนดินร่วน (ls) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น SM และ SM-SC
                  เนื่องจากปริมาณอนุภาคดินที่มีขนาดเล็กกว่า 0.075 มิลลิเมตร น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 เป็นทรายที่มี
                  ทรายแป้ง และดินเหนียวปะปน และจําแนกเป็น A-2-4 ในระบบ AASHO  เนื่องจากเป็นอนุภาคดินที่มีขนาด
                  เล็กกว่า 0.075 มิลลิเมตร น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 จัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดหยาบทั้งในระบบ Unified และ

                  AASHO โดยเป็นกลุ่มเนื้อดินที่เหมาะสมเป็นวัสดุรองพื้นทาง ก่อสร้างถนน ฐานรากรองรับโรงงานอุตสาหกรรม
                  ขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ

                           กลุ่มที่ 2 ดินร่วนปนทราย (sl) และดินร่วนเหนียวปนทราย (scl) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น
                  SM, SC, ML, CL, MH และ CH ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดหยาบ (SM, SC) และดินเม็ดละเอียด (ML, CL, MH,
                  CH) จากผลการศึกษา พบว่า เนื้อดินที่เป็นดินร่วนปนทราย จําแนกดินได้เป็น SM และ SC มีปริมาณ

                  อนุภาคขนาดดินเหนียวอยู่ในช่วงร้อยละ 6 – 16 ในขณะที่ ML และ CL มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวสูงกว่า
                  อยู่ในช่วงร้อยละ 17 -20 ส่วนระบบ AASHO จัดเป็น A-2-4, A-2-6, A-4 และ A-6 ซึ่งมีปริมาณอนุภาคดินที่
                  มีขนาดเล็กกว่า 0.075 มิลลิเมตร น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35 เช่นเดียวกับเนื้อดินทราย (s) และดินทราย
                  ปนดินร่วน (ls) แต่มีค่าขีดจํากัดของเหลว (LL) สูงกว่า ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดหยาบ (A-2-4, A-2-6) และดิน

                  เม็ดละเอียด (A-4, A-6)  เนื่องจากดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย มีปริมาณอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียวสูงกว่าดินทรายและดินทรายปนดินร่วน โดยมีอนุภาคขนาดดินเหนียวร้อยละ 7-20 และ 20-35
                  ตามลําดับ ซึ่งเป็นช่วงที่กว้างส่งผลให้จําแนกดินในระบบ Unified และ AASHO เป็นได้ทั้งกลุ่มในดินเม็ดหยาบ

                  และดินเม็ดละเอียด

                           กลุ่มที่ 3 ดินร่วน (l) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) ดินร่วนเหนียว (cl) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl)
                  ดินเหนียวปนทราย (sc) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) และดินเหนียว (c) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น ML,
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170