Page 128 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 128

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          106



                        2.2 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด

                           จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้เป็นแหล่งทรายหรือ
                  กรวด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ

                             1) ดินไม่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด เนื่องจากมีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดิน
                  ตามการจําแนกดิน (3a) เป็น GM และ SM ได้แก่ ชุดดินชุมพวง จันทึก โคราช มหาสารคาม น้ําพอง อุบล และ

                  วาริน (ตารางที่ 43)

                             2) ดินไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน (4a) เป็น GC,
                  SC, ML, CL, MH และ CH ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ บุรีรัมย์ บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมแพ จอมพระ
                  จัตุรัส ด่านซ้าย ห้วยแถลง กันทรวิชัย เขมราฐ เลย นาดูน นครพนม โนนไทย พล โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย

                  ภูเรือ ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม ธาตุพนม ท่าตูม ท่าอุเทน วังไห วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร

                             จากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินถูกจําแนกอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม
                  สําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด ทั้งนี้ เนื่องจากการจําแนกดินตามระบบ Unified แบ่งได้เป็น GM, GC,
                  SM, SC, ML, CL, MH และ CH ซึ่งดินที่มีความเหมาะสมดีสําหรับเป็นแหล่งทรายหรือกรวด ต้องเป็นดินเม็ด

                  หยาบที่เป็นกรวด กรวดผสมทราย ทราย และทรายปนกรวด ร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 200 น้อยกว่าหรือเท่ากับ
                  ร้อยละ 50 สามารถจําแนกดินตามระบบ Unified ได้เป็น GW, GP, SW และ SP ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา
                  ของสุวณี (2538) พบว่า ชุดดินชุมพวง จันทึก ด่านซ้าย โคราช น้ําพอง อุบล วาริน และยโสธร ไม่เหมาะสม
                  สําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดินในระบบ Unified เป็น
                  GM และ SM ส่วนชุดดินเชียงคาน ชุมพลบุรี จัตุรัส เลย นครพนม โพนพิสัย ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว ท่าตูม และ

                  วังสะพุง ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการ
                  จําแนกดินเป็น GC, SC, ML, CL, MH และ CH (ภาพที่ 15)

                  ตารางที่ 43 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวดของดินตัวแทนหลัก


                       ระดับความเหมาะสม         ข้อจํากัด      สัญลักษณ์              ชุดดิน

                       ไม่เหมาะสม        ลักษณะของดินตามการ       3a     ชุมพวง จันทึก โคราช มหาสารคาม น้ําพอง
                                         จําแนกดิน                       อุบล วาริน
                                         GM, SM
                       ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง   ลักษณะของดินตามการ   4a     บ้านไผ่ บุรีรัมย์ บุณฑริก เชียงคาน

                                         จําแนกดิน                       ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมแพ จอมพระ จัตุรัส
                                         GC, SC, ML, CL, MH, CH          ด่านซ้าย ห้วยแถลง กันทรวิชัย เขมราฐ
                                                                         เลย นาดูน นครพนม โนนไทย พล โพนพิสัย
                                                                         ปลาปาก ปักธงชัย ภูเรือ ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว

                                                                         สูงเนิน ศรีสงคราม ธาตุพนม ท่าตูม ท่าอุเทน
                                                                         วังไห วังสะพุง ยางตลาด ยโสธร
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133