Page 33 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               5.1  ธาตุ (elements)

                               ชนิดและปริมาณของธาตุที่พบในเปลือกโลก (Earth  crust) มีอิทธิพลต่อชนิดและปริมาณ

                       ของหินและแร่ ในเปลือกโลกส่วนนอกซึ่งหนาประมาณ 10-20 กิโลเมตร ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย

                       หินอัคนีร้อยละ 95 เพราะหินตะกอนและหินแปรนั้นมีอยู่แต่ในบริเวณผิวโลกเท่านั้นเป็นส่วนใหญ่
                       และผลจากการวิเคราะห์ตัวอย่างหินเหล่านี้พบว่า มีธาตุซ้ าๆกันอยู่เป็นส่วนใหญ่ องค์ประกอบที่ส าคัญ

                       ที่มักจะวิเคราะห์ คือ SiO  , TiO , Al O , Fe O , FeO, MgO, CaO, Na O, K O, P O , H O,
                                                              2 3
                                                                                           2
                                                       2 3
                                                                                                       2
                                            2
                                                  2
                                                                                                 2 5
                                                                                      2
                       และ CO  ซึ่งมักจะเรียกว่าธาตุหลัก (major elements) ธาตุที่พบเป็นส่วนน้อยหรือธาตุรอง (trace
                              2
                       elements) มักจะไม่ค่อยวิเคราะห์กัน นอกจากต้องการศึกษาธาตุรองธาตุใดธาตุหนึ่งโดยเฉพาะก็จะ
                       ท าการศึกษาวิเคราะห์ธาตุรองนั้นกับธาตุหลักควบคู่กันไป (อัญชลี, 2534) จากการวิเคราะห์ปริมาณ
                       ธาตุองค์ประกอบในเปลือกโลก (ตารางที่ 5 ) พบว่ามีอยู่เพียงแปดธาตุที่พบมากกว่าธาตุอื่น  ๆ คือ
                       ออกซิเจน (O) ซิลิคอน (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe) แคลเซียม (Ca) โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K)
                       และแมกนีเซียม(Mg) ปริมาณธาตุทั้งแปดชนิดนี้รวมกันจะประมาณร้อยละ 99 โดยน้ าหนักของเปลือก

                       โลก ออกซิเจนเป็นธาตุที่มากที่สุดประมาณครึ่งหนึ่งของเปลือกโลกโดยน้ าหนัก และมีร้อยละของ

                       อะตอม และร้อยละโดยปริมาตร มากกว่าร้อยละโดยน้ าหนักด้วย เพราะฉะนั้นถ้าพิจารณาจริง ๆ จะ
                       พบว่า เปลือกโลกประกอบไปด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอัดตัวกันแน่น และมีไอออนของพวก

                       โลหะซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิลิคอน อยู่ระหว่างอะตอมของออกซิเจนเหล่านี้ ธาตุออกซิเจน ซิลิคอน และ

                       อะลูมินัม รวมกันแล้วมีร้อยละของอะตอมอยู่ถึงร้อยละ 90 ในเปลือกโลก เพราะฉะนั้นแร่ที่พบมาก
                       เป็นแร่พวกควอร์ตซ์ ซิลิเกต และอะลูมิโนซิลิเกต ของเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม และ

                       โพแทสเซียม เมื่อพิจารณาในรูปออกไซด์พบว่า ในเปลือกโลกจะมี SiO  สูงสุด ร้อยละ 59 โดยน้ าหนัก
                                                                                2
                       รองลงมาคือ Al O  ร้อยละ 15 โดยน้ าหนัก (ตารางที่ 6)
                                   2 3
                       ตารางที่ 5 ชนิดและปริมาณธาตุที่พบมากในเปลือกโลก

                       ธาตุ               % โดยน้ าหนัก    % โดยอะตอม  รัศมีไอออน (A  )  % โดยปริมาตร

                       ออกซิเจน (O)          46.40             62.19            1.40            94.04
                       ซิลิคอน (Si)          28.15             21.49            0.42            0.88

                       อะลูมินัม (Al)         8.23             6.54             0.51            0.48
                       เหล็ก (Fe)             5.63             2.16             0.74            0.49

                       แมกนีเซียม (Mg)        2.33             2.05             0.66            0.33

                       แคลเซียม (Ca)          4.15             2.22             0.99            1.18
                       โซเดียม (Na)           2.36             2.20             0.97            1.11

                       โพแทสเซียม (K)         2.09             1.15             1.33            1.49
                       ที่มา : Klein และ Hurlbut (1985)






                                                                                                       20
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38