Page 82 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 82

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       74



                                                             บทที่ 5

                                              กำรประเมินควำมอุดมสมบูรณ์ของดิน

                              โดยปกติแล้วการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินอาจท าได้หลายวิธี เช่น การสังเกตอาการ

                       ผิดปกติของพืชที่แสดงออกเนื่องจากการขาดธาตุอาหารพืช พืชมักจะแสดงอาการผิดปกติต่างๆ เช่น
                       แคระแกร็น ยอดหงิกงอ ใบเหลือง และใบไหม้ เป็นต้น การทดลองปุ๋ยกับดินชนิดต่างๆในสนาม หรือ
                       น าดินนั้นมาปลูกพืชในกระถางเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของพืช การวิเคราะห์พืชที่ปลูกในดินนั้นเพื่อ
                       ดูปริมาณธาตุอาหารพืชที่เป็นองค์ประกอบ และอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้คือประเมินความอุดมสมบูรณ์

                       ของดินจากผลการวิเคราะห์ดิน โดยดูระดับปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินชนิดต่างๆว่ามีปริมาณ
                       มากน้อยเท่าไรก็พอจะคาดคะเนได้ แต่รายงานผลวิเคราะห์ดินที่ออกมาจะมีธาตุบางธาตุสูง ต่ า และ
                       ปานกลางแตกต่างกันไป ท าให้ผู้ใช้ผลวิเคราะห์ดินไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์

                       เป็นอย่างไร คืออยู่ในระดับต่ า ปานกลาง หรือสูง การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากผลการ
                       วิเคราะห์ดินจะท าให้ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาปริมาณปุ๋ยเพื่อการผลิตพืชได้ หากมีความเข้าใจ
                       เกี่ยวกับพืชแต่ละชนิดว่าต้องการปุ๋ยระดับปกติในอัตราเท่าใดที่จะท าให้มีระดับการเจริญเติบโตและ
                       ผลผลิตของพืชเป็นที่พึงพอใจหรือคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งนี้จะต้องค านึงถึงสภาพแวดล้อมและปัจจัย
                       การผลิตพืชในด้านอื่นๆร่วมด้วย


                              การน าข้อมูลผลวิเคราะห์ดินมาใช้ในการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีผู้คิดค้น
                       และน าเสนอไว้หลายวิธีด้วยกัน ส่วนใหญ่จะใช้สมบัติทางเคมีบางประการร่วมกับปริมาณธาตุอาหาร
                       หลักบางธาตุรวมกับปริมาณอินทรียวัตถุ ซึ่งแต่ละวิธีที่ใช้ในการประเมินสามารถน าไปใช้เป็นแนวทาง
                       ในการแปลผลการวิเคราะห์ดิน การให้ค าแนะน าแก้ไขปรับปรุงบ ารุงดินและการใส่ปุ๋ย โดยพิจารณาว่า

                       วิธีการใดที่เหมาะส าหรับดินหรือพืชที่ปลูก ผลการวิเคราะห์ดินที่น ามาใช้ในการประเมินความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน จะมีความแตกต่างกันในแต่ละวิธี แต่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย 5 รายการ คือ ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุ (organic matter) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus)
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (available potassium) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน

                       (cation exchange capacity) และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (% base saturation) ในที่นี้จะ
                       น าเสนอแนวทางการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินที่นิยมใช้ในประเทศไทยเพียง 2 แนวทาง
                       ส าหรับแนวทางการประเมินความอุดมสมบูรณ์วิธีอื่นๆ อาจท าได้โดยการใช้วิธีการที่มีผู้รวบรวมไว้

                              1)  การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน (กองส ารวจดิน, 2523)
                              2)  การคาดคะเนความอุดมสมบูรณ์ของดินจากผลวิเคราะห์ดิน (บรรเจิด, 2523)
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87