Page 83 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 83

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       75



                       5.1 กำรประเมินควำมอุดมสมบูรณ์ของดิน (กองส ำรวจดิน, 2523)

                              กรมพัฒนาที่ดินโดยกองส ารวจดิน (2523) ได้ก าหนดหลักเกณฑ์วิธีการประเมินความอุดม
                       สมบูรณ์ของดินในประเทศไทย โดยใช้ค่าวิเคราะห์ดิน 5 รายการ คือ ปริมาณอินทรียวัตถุ (organic

                       matter) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น
                       ประโยชน์ (available potassium) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity)
                       และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (% base saturation) ซึ่งในแต่ละรายการผลวิเคราะห์ดินจะมี
                       เกณฑ์ประเมินเป็นค่าสูง กลาง และต่ า เพื่อใช้ในการก าหนดคะแนนโดยมีค่า 3 , 2 และ 1 คะแนน

                       ตามล าดับ เมื่อรวมผลคะแนนจากค่าวิเคราะห์ดินทั้ง 5 รายการแล้ว จึงประเมินระดับความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน (ตำรำงที่ 15)

                       ตำรำงที่ 15 การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                                                                            -1
                                                                            -1
                       ระดับความอุดมสมบูรณ์   OM (%)     P (mg kg )  K (mg kg )  CEC (cmol kg )   BS (%)
                                                                -1
                       ต่ า                    <1.5         <10         <60           <10          <35
                                ระดับคะแนน      (1)          (1)         (1)          (1)           (1)
                       ปานกลาง                1.5-3.5      10-25       60-90         10-20        35-75
                                ระดับคะแนน      (2)          (2)         (2)          (2)           (2)
                       สูง                     >3.5         >25         >90           >20          >75
                                ระดับคะแนน      (3)          (3)         (3)          (3)           (3)
                       ที่มา : กองส ารวจดิน (2523)

                              ส าหรับวิธีคิดระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้วิธีการให้คะแนน ดังนี้
                                  (1) ถ้าผลรวมคะแนนทั้งหมด ≤7 ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                                  (2) ถ้าผลรวมคะแนนทั้งหมดอยู่ระหว่าง 8-12 ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
                                  (3) ถ้าผลรวมคะแนนทั้งหมด ≥13 ถือว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง

                       5.2  กำรคำดคะเนควำมอุดมสมบูรณ์ของดินจำกผลวิเครำะห์ดิน (บรรเจิด, 2523)

                              จากหนังสือคู่มือการวินิจฉัยคุณภาพดินของประเทศไทยที่จัดท าขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางดิน
                       จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และจัดพิมพ์โดยกองส ารวจดิน กรมพัฒนา
                       ที่ดิน ได้แบ่งการคาดคะเนส าหรับการปลูกพืชไร่และปลูกข้าว และไม่ได้น าผลวิเคราะห์อินทรียวัตถุไป
                       ใช้กับดินปลูกพืชไร่ ซึ่งบรรเจิด (2523) เห็นว่าควรจะใช้เป็นแบบเดียวกันไม่จ าเป็นจะต้องแยกกัน

                       และได้น าเอาผลวิเคราะห์อินทรียวัตถุมาใช้ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะเห็นว่าดิน
                       ในประเทศไทยส่วนใหญ่ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ า จ าเป็นต้องเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับ
                       ดิน เพื่อเป็นการปรับปรุงดินทั้งสมบัติทางกายภาพและเคมี อย่างไรก็ตามการที่จะน าผลวิเคราะห์ดิน
                       ทุกอย่างมาใช้ในการคาดคะเนความอุดมสมบูรณ์คงเป็นไปได้ยาก จึงเลือกเฉพาะคุณสมบัติทางเคมีที่

                       ส าคัญๆเท่านั้น ได้แก่
                              (1) ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน (cation exchange capacity)
                              (2) อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (% base saturation)

                              (3) ปริมาณอินทรียวัตถุ (organic matter)
                              (4) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available phosphorus)
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88