Page 80 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       72



                       4.9 อะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable Aluminum)

                              อะลูมินัมในดินมีอยู่หลายรูปด้วยกัน (Jackson, 1961) และพบเสมอในรูปของกิบไซต์หรือ
                       ตกตะกอนในรูปของ Al(OH)3 ในสภาพความเป็นกรด อะลูมินัมเกิดขึ้นในรูปของสารประกอบ ซึ่งใน
                                                                      3+
                       ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดจะมีอะลูมินัมที่ละลายอยู่ในรูป Al  ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืชหลายชนิดท าให้พืช
                       ชะงักการเจริญเติบโต และถ้ามีปริมาณอะลูมินัมมากอาจท าให้พืชถึงตายได้ แต่ถ้าปรับ pHของดินให้
                       สูงขึ้น การละลายของอะลูมินัมจะลดลง จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายคนพบว่า เมื่อระดับ
                       pH ของดินเพิ่มขึ้น การละลายของอลูมินัมจะลดลงไม่ว่า pH ของดินจะสูงขึ้นเนื่องจากรีดักชันของดิน

                       โดยการใส่ปูนหรือการชะล้างดิน และถ้า pH ของดินมากกว่า 5.5 อลูมินัมจะตกตะกอนหมด

                              ดินกรดและดินกรดจัด ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินต่ า ความเป็นพิษของ
                       อะลูมินัมจะมากเมื่อดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า 5.0 แต่ปกติแล้วความเป็นพิษของอะลูมินัมจะไม่เกิดขึ้น
                       เมื่อดินมีค่าพีเอชมากกว่า 5.5 (kamprath และ Foy, 1971) แต่ส าหรับดินที่มีแร่ดินเหนียวเป็นเคโอลิ
                       ไนท์ (kaolinite) เป็นแร่หลักในดิน ความเป็นพิษของอะลูมินัมอาจเกิดขึ้นได้เหมือนกันที่ พีเอชของดิน

                       ที่ 5.5 ดังนั้นในกรณีนี้ในดินเปรี้ยวจัดภาคใต้จึงจ าเป็นต้องปรับระดับพีเอชของดินให้สูงกว่า 5.5 เพื่อ
                       ให้อะลูมินัมตกตะกอนให้หมด และไม่เป็นพิษต่อพืช เพราะว่าอะลูมินัมเพียง 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                       จะเป็นสาเหตุที่ท าให้พืชมีผลผลิตลดลง (Sanchez, 1976)

                              ส าหรับความส าคัญของอะลูมินัมในดิน สามารถพิจารณาจากค่าที่วิเคราะห์และค านวณได้ 2

                       ค่า คือ
                              (1) อะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน วิธีวิเคราะห์ที่นิยมใช้คือ การสกัดดินด้วยสารละลาย 1 N
                       KCl แล้ววิเคราะห์ด้วยสารละลายบัพเฟอร์อะลูมินอล (Aluminon) ซึ่งใช้วิธีการพัฒนาสีตามความ
                       เข้มข้นของปริมาณอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ ความเป็นพิษของอะลูมินัมจะมีผลต่อการเจริญเติบโต
                       ของพืช พืชแต่ละชนิดสามารถทนต่ออะลูมินัมได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์พืช ปกติเรา

                       สามารถประเมินปริมาณอะลูมินัมในสารละลายดินได้โดยดูจากค่าพีเอชโดยเฉพาะในดินกรดและดิน
                       เปรี้ยวจัดที่มีอะลูมินัมเป็นสารประกอบอยู่มาก แต่ถ้ามีน้อยมากก็ไม่สามารถที่จะประเมินได้ ทั้งนี้ให้ดู
                       ในเบื้องต้นถ้าค่าพีเอชมากกว่า 5.5 จะบ่งชี้ว่าในดินนั้นมีปริมาณอะลูนัมอยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย

                       เนื่องจากช่วงพีเอชดังกล่าวอะลูมินัมจะตกตะกอนดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นถ้าดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น (pH
                       น้อยกว่า 5.5 ) และปริมาณอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้น เมื่อนั้นแม้พืชที่ทนต่ออะลูมินัมก็อาจจะ
                       แสดงอาการและได้รับผลกระทบ ซึ่งอาการเป็นพิษของอะลูมินัมจะพบที่ปลายใบแก่ มีสีเหลืองทองส้ม
                       ที่เส้นใบ ต่อมาจะมีจุดสีน้ าตาลเกิดขึ้น เป็นต้น

                               (2) ค่าความอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมในดิน (Al-saturation) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงสภาพปัญหาของ

                       อะลูมินัมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชในดินกรดได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ผลผลิตของ
                       พืชจะลดลงเมื่อเปอร์เซ็นต์การอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมเพิ่มขึ้น ค่านี้สามารถค านวณได้จากสูตร ดังนี้

                                        % Al-saturation = Exchangeable Al (1 N KCl)   × 100
                                                                    Effective CEC (ECEC)

                              ปกติค่าความอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมในดิน (Al saturation) ถ้ามีค่ามากกว่าร้อยละ 60 จะเป็น
                       ตัวบ่งชี้ว่าความเป็นพิษที่เกิดขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากอะลูมินัม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

                       และผลผลิตของพืช ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและลักษณะของดินด้วย
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85