Page 10 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2



                       จัดการดินอย่างยั่งยืนและมีทิศทางที่ชัดเจน รองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมใน
                       อนาคต

                              การวิเคราะห์สมบัติดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นการวางแผนเพื่อ
                       เพิ่มศักยภาพของดิน และเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตพืชให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนการ

                       ผลิต ท าให้มีการเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมกับชนิดของดิน มีการใช้ปุ๋ย ใช้ปูน และวัสดุปรับปรุงดิน
                       ต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความจ าเป็นและความต้องการของพืช

                              การวิเคราะห์ดินทางเคมีนั้น แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามวัตถุประสงค์ คือ

                              1) การวิเคราะห์เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณส่วนประกอบ (qualitative and quantitative)
                       ชนิดต่างๆ ของดินทางเคมี เช่น โมเลกุล อะตอม อนุมูลบวก อนุมูลลบ สารเชิงประกอบ หรือ ธาตุ

                       ต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ทั้งนี้ เพื่ออธิบายหรือพิจารณาว่า สมบัติต่างๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มีอยู่เดิม
                       (native form) ส่วนที่ใส่ลงดิน (applied form) มีอยู่เป็นปริมาณเท่าไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
                       (transformation) เพื่อที่จะได้อธิบายปฏิกิริยาทางเคมีที่เปลี่ยนไปในดิน เนื่องจากสภาพของดิน
                       เปลี่ยนแปลงไป

                              2) การวิเคราะห์เพื่อประเมินถึงปริมาณธาตุอาหารพืชที่ส าคัญ งานวิเคราะห์ด้านความอุดม

                       สมบูรณ์ของดิน และความต้องการธาตุอาหารพืช เพื่อการเกษตรกรรม  เพื่อการปรับปรุงบ ารุงดิน
                       การใช้ปุ๋ย และการแก้ไขดินที่มีปัญหา

                              3) การวิเคราะห์ด้านส ารวจและจ าแนกดิน ทั้งการวิเคราะห์ดินทางเคมี ทางกายภาพ และจุล
                       สัณฐานดิน เพื่อใช้ในการจ าแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน (soil taxonomy) ที่มีขั้นตอน

                       (categories) โดยใช้ลักษณะกว้างๆของดินเป็นล าดับเริ่มแรกจากอันดับดิน (order) ไปจนถึงชุดดิน
                       (series) ซึ่งใช้ลักษณะละเอียดมาจ าแนกตามล าดับ

                              โดยทั่วไปแล้ว การวิเคราะห์ดินของกรมพัฒนาที่ดินมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการจ าแนกดิน
                       และเพื่อการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส าหรับการวิเคราะห์ดินเพื่อประเมินความอุดม
                       สมบูรณ์ของดินนั้น เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะน าไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินในการผลิตพืชอย่างเหมาะสม

                       และมีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต รักษาสภาพสมดุลตามธรรมชาติเอาไว้
                       อย่างยืนตลอดไป ซึ่งสอดคล้องกับความจ าเป็นที่จะต้องด าเนินการในภาวะปัจจุบัน การประเมินความ
                       อุดมสมบูรณ์ของดินเป็นการน าตัวย่างดินที่จะปลูกพืชมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารรวมทั้งสมบัติ
                       ทางเคมีและสมบัติทางกายภาพบางประการของดิน ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของ
                       พืช แล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบกันเพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาการใส่ปูน ใส่ปุ๋ย ตลอดจน

                       การปรับปรุงบ ารุงดินอื่นๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
                              ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน กรมพัฒนาที่ดินได้ใช้ผลการวิเคราะห์ดินจาก 5

                       รายการ คือ ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็น
                       ประโยชน์ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์
                       เพิ่มเติม คือ ปริมาณเบสที่แลกเปลี่ยนได้ (exchangeable bases) ปริมาณความเป็นกรดที่
                       แลกเปลี่ยนได้ และปริมาณอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้ เพื่อใช้ในการค านวณค่าความจุแลกเปลี่ยนแคต

                       ไออน (CEC by sum) และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนประสิทธิผล (Effective CEC) ตามล าดับ
                       เป็นค่าที่ต้องน ามาใช้ในการค านวนอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการจ าแนกดิน  ส่วน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15