Page 9 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1



                                                             บทที่ 1

                                                             บทน ำ


                               ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญในการด ารงชีพของมนุษย์ ประเทศไทยเป็นประเทศ
                       เกษตรกรรมที่ต้องใช้ดินเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แก่ การน าพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อ
                       การเกษตรมาใช้ในการเกษตรกรรม และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ท าให้เกิด
                       ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร ชุมชน และ

                       ประเทศชาติ กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจหลักเกี่ยวกับการก าหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดินใน
                       พื้นที่เกษตรกรรม การส ารวจและจ าแนกดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า และการปรับปรุงบ ารุงดิน โดย
                       การให้บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ข้อมูลดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ

                       เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนการ
                       จัดการทรัพยากรดินเป็นไปด้วยความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ สิ่งแรกที่ควรให้ความส าคัญคือ
                       “สถานภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน” เพื่อให้สามารถประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ที่น าไปสู่
                       การพิจารณาหาแนวทางการจัดการดินให้มีศักยภาพทางการผลิตมากขึ้น และสามารถน าไป
                       ประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดการและอนุรักษ์ดินในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์

                       สูงสุดอย่างยั่งยืน

                              ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสิ่งบ่งชี้ผลิตภาพดิน (soil productivity) เป็นความสามารถ
                       ของดินในการให้ผลผลิตพืชภายใต้การจัดการแบบหนึ่งหรือระบบหนึ่ง คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา
                       (2548) ได้ให้นิยามความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) หมายถึง
                       ความสามารถของดินในการให้ธาตุอาหารที่จ าเป็นเพื่อการเจริญเติบโตของพืช กล่าวคือเมื่อธาตุ

                       อาหารในดินที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้มีปริมาณที่พอเหมาะและสมดุล จะช่วยให้
                       พืชมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงถือเป็นสิ่งที่ควร
                       ค านึงถึง เพื่อปรับปรุงบ ารุงดินและเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่ท าการเพาะปลูกทางการเกษตร

                              การใช้ประโยชน์ที่ดินจากในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งเกิดจากทาง

                       ธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ซึ่ง
                       ส่งผลท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน ทั้งสมบัติทาง
                       เคมี กายภาพ และชีวภาพ เช่น ปริมาณอินทรียวัตถุลดลงส่งผลให้ดินมีความสามารถในการดูดยึดธาตุ
                       อาหารพืชในดินลดลง ความสามารถในการอุ้มน้ าลดลง ความหนาแน่นรวมของดินสูงขึ้น เป็นต้น

                       นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนสภาพป่าเพื่อน าไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ส่งผลต่อระบบการ
                       หมุนเวียนธาตุอาหารซึ่งสะสมอยู่ในรูปมวลชีวภาพของพืช และเมื่อมีการน าผลผลิตออกไปจากพื้นที่
                       จึงท าให้สูญเสียธาตุอาหารไปด้วย ส่งผลให้ระบบส ารองธาตุอาหารพืชลดลง ในบางกรณีการ
                       เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งผลให้ดินมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการดิน ซึ่งอาจส่งผล

                       ให้ปฏิกิริยาของดินเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น ท าให้มีผลกระทบต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช
                       โดยเฉพาะฟอสฟอรัสจะอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ หรือบางพื้นที่มีการสูญเสียหน้าดิน
                       จากการชะล้างพังทลาย การเกิดชั้นดานไถพรวน นอกจากนี้การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลายาวนานโดย

                       ไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน ก็ล้วนแล้วแต่ท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีการเปลี่ยนแปลงได้ทั้ง
                       ทางบวกและทางลบ ดังนั้น การติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึง
                       เป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อให้ทราบถึงสถานภาพทรัพยากรดินในปัจจุบัน  ซึ่งน าไปสู่การวางแผนการ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14